น้ำผึ้งกับพระพุทธศาสนา

เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ที่ให้ความเคารพศรัทธากับพุทธศาสนา ในระหว่างวันเพ็ญเดือนสิบ (กันยายน - ตุลาคม ) ในหมู่บ้านทางเหนือหรือหมู่บ้านไทยเชื้อสายมอญ บาตรพระห่อผ้าแดงจะถูกวางเรียงแถวต่อหน้าองค์พระพุทธรูป ในตอนเช้าตรู่ บาตรของพระสงฆ์ จะมีอาหารพิเศษบรรจุอยู่เต็มแทนที่อาหารปกติ โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า วันหนึ่งพระพุทธองค์ทรงประชวรและทรงต้องการน้ำผึ้งมาใช้ในการรักษา แต่ไม่อาจจะหาน้ำผึ้งได้ พระองค์เสด็จบิณฑบาตรไปจนถึงหน้าประตูบ้านของชาวบ้านยากไร้คนหนึ่ง ซึ่งไม่มีอะไรจะถวายนอกจากน้ำผึ้งจำนวนน้อยนิด ซึ่งเขาเก็บได้จากป่าใกล้บ้าน ชาวบ้านผู้นั้นจึงตัดสินใจถวายน้ำผึ้งนั้น ในขณะที่เขาเทน้ำผึ้งลงในบาตรของพระพุทธเจ้า สิ่งอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น น้ำผึ้งไหลลงในบาตรเรื่อยๆจนกระทั้งล้นออกมาต้องมือพระพุทธองค์ ภรรยาของผู้ยากไร้ผู้นั้นก็ถวายผ้าแดง เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเช็ดพระหัตถ์ จากผลบุญอันนี้ ชายผู้นั้นได้ไปเกิดใหม่เป็น พระเจ้าโศกมหาราชของอินเดีย และหญิงผู้นั้นไปเกิดเป็นพระราชินีในพระเจ้าอโศก ซึ่งทั้ง 2 มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

ตำนานอีกเรื่องหนึ่งคือ พิธีตักบาตรน้ำผึ้ง ในชาติก่อนพระศิวาลัย (พระสงฆ์รูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล ) ได้เกิดเป็นผู้นำของหมู่บ้าน วันหนึ่งเขาพบรังผึ้งขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยน้ำผึ้ง เขาตัดสินใจที่จะถวายรังผึ้งนั้นแด่พระสงฆ์ ในสมัยนั้นพระราชาและประชาชนจะแข่งขันกันถวายสิ่งดีที่สุด แก่พระประจำเมือง เพื่อที่จะได้มาซึ่งสิ่งถวายดีๆนั้น ประชาชนมักจะไปที่ประตูหลักของเมือง เพื่อซื้อสินค้าดีๆจากพ่อค้าก่อนที่พระราชาจะเสด็จมาถึง ในวันที่หัวหน้าหมู่บ้านผู้นั้นเข้ามาในเมือง พร้อมด้วยรังผึ้งนั้น ถือเป็นโชคดีที่ไม่เคยมีใครถวายน้ำผึ้งแด่พระสงฆ์มาก่อน เมื่อผู้คนทั้งหลายเห็นรังผึ้ง จึงต่างเสนอราคาที่สูงเพื่อซื้อรังผึ้งนั้น และมีการแข่งขันกันเสนอราคา ภายในเวลาอันสั้น ราคาน้ำผึ้งพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว หัวหน้าหมู่บ้านผู้นั้นมีความสงสัยจึงถามว่า ทำไมจึงให้ราคาที่สูงเช่นนั้นกับรังผึ้งของตน เขาได้รับคำตอบว่า เพราะผู้คนทั้งหลายต้องการซื้อน้ำผึ้งเพื่อไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อได้ยินดังนั้น เขาจึงให้รังผึ้งนั้นไปโดยไม่คิดเงิน ผู้คนทั้งหลายจึงนำน้ำผึ้งไปถวายแด่พระสงฆ์ จากผลบุญอันนั้นทำให้หัวหน้าหมู่บ้านผู้นั้น ไปเกิดเป็นราชบุตรของกษัตริย์แห่งเมืองพาราณาสี จากนั้นเขาได้บรรพชาเป็นพระสงฆ์มีนามว่า พระศิวาลัย ซึ่งแปลว่า พระแห่งความโชคดี

ตำนานทั้ง 2 เรื่องแสดงให้เห็นถึงผลบุญแห่งการถวายน้ำผึ้งแก่พระสงฆ์ ประเพณีการถวายน้ำผึ้งนี้ยังคงปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทย เมื่อคนไทยถวายน้ำผึ้งใส่ลงในแถวของบาตรในวัด สีหน้าของเขาเหล่านั้นจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข คนไทยเชื่อว่าได้ทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ดีงามเมื่อถวายสิ่งของที่ดีที่สุดแก่พระภิกษุสงฆ์ หลังจากถวายน้ำผึ้งแล้ว ใบหน้าของคนไทยจึงเต็มไปด้วยรอยยิ้มที่หวานปานน้ำผึ้ง

การเลี้ยงผึ้งธรรมชาติแบบดั้งเดิมของไทยนั้นมีมาเป็นนานแล้ว ตั้งแต่ยุคโบราณ แต่ไม่มีใครทราบว่าเริ่มเมื่อใด ที่ไหน และใครเป็นผู้เริ่มเลี้ยง อย่างไรก็ดีการเลี้ยงผึ้งในหีบของเอเชีย มีมาประมาณ 100 ปีมาแล้ว มีการเลี้ยงผึ้งโพรงในสวนมะพร้าวบนเกาะสมุยทางภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้บทความที่ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ การวิจัยด้านการเลี้ยงผึ้งในปักกิ่ง ได้ระบุว่าคนไทย ( เผ่าไท)เริ่มเลี้ยงผึ้งเมื่อประมาณ 1,000 ปี มาแล้วในสิบสองปันนา ซึ่งอยู่ในมณฑลเสฉวนของจีน จากหลักศิลาจารึกในพิพิธภัณฑ์ผึ้งวังหน้า ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ระบุว่า การเลี้ยงผึ้งของไทย เริ่มในราวปี พ. ศ. 1793 ในรัชสมัยของพระเจ้ารามาธิบดีที่ 1 นอกจากนี้ตำรายาโบราณอีกหลายเล่มบ่งชี้ว่า มีการใช้นำผึ้งเป็นส่วนผสม ของยาสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิดอย่างกว้างขว้าง และยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย เทียนที่ใช้จุดบูชาพระนั้นทำมาจากไขของผึ้ง ซึ่งผลิตออกมาจากส่วยปลายท้องของผึ้ง ในประเทศไทยมีเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษา ในระหว่างวันที่ 22 - 24 กรกฎาคม ที่วังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงเวลาดังกล่าว ในวัดทุกวัดของไทยจะมีพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อฉลองวันอาสาฬหบูชา และเป็นวันหยุดราชการของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงงาน หล่อเทียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งรวงผึ้งจะถูกหลอม ทำให้บริสุทธิ์เพื่อทำเทียนไข โครงการหลวงโครงการนี้ก่อกำเนิดขึ้งในปี พ.ศ. 2529 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองไปพร้อมๆกับผึ้งต่างชาติ หรือผึ้งพันธุ์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay