เสริมสร้างสุขภาพไก่ให้ปลอดภัย สู้ภัยไข้หวัดนก
การเลี้ยงไก่พื้นบ้านให้รอดมากที่สุด มีคุณภาพดี หน้าอกไม่แหลม จับขายได้ราคาและมีเป็นกอบเป็นกำให้ผู้ซื้อนำไปทำธุรกิจต่อเนื่องได้ ทางออกคือ เน้นการเสริมสร้างสุขภาพไก่ให้แข็งแรง มากกว่ารอให้โรคเกิดแล้ววิ่งแก้ปัญหาไม่สิ้นสุด การบริหารจัดการเป็นกลุ่ม ซึ่งสามารถแยกเป็นประเด็นต่างๆ และตัวอย่างที่ปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ ดังนี้
1. การรวมกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ โดยจัดระบบการเลี้ยงไก่ในหมู่บ้าน ระบบการป้องกันโรค เช่น การรณรงค์ทำวัคซีนพร้อมกัน การตั้งกฎกติกาการนำไก่นอกหมู่บ้านมาบริโภคและขยายพันธุ์จะต้องมีการกำหนดไว้ ขั้นต่อไปคือการจัดการเรื่องการตลาดยกระดับเพิ่มมูลค่าของสินค้าไก่พื้นเมือง หาตลาดที่ต่อเนื่องเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชน
2. มีการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเรื่องต่างๆ โดยผู้เลี้ยงไก่ต้องเริ่มที่ตนเองก่อน ได้แก่
- ควรมีคอกไก่ มีรางน้ำสะอาดให้กิน เพื่อกันไม่ให้ไปกินน้ำสกปรกใต้ถุนบ้าน คอกที่กันแดด กันฝน มีคอนให้นอน มีรังไข่ที่ปราศจากไร หมัดรบกวน ไม่ใช่ปล่อยให้เกาะตามกิ่งไม้ตามยถากรรม ไก่ไข่ไม่เป็นที่ทาง มีไรรบกวน ทำให้ไก่มีสุขภาพไม่แข็งแรง
- มีการจัดการเรื่องอาหาร ระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม ต้นไม้ใหญ่น้อย พืชผักสมุนไพรให้ไก่ได้จิกกิน ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทำให้มีแมลงตามธรรมชาติให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยกินอย่างเพียงพอ มีผลไม้ เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง ชมพู่ น้อยหน่า ที่ร่วงหล่นให้ไก่ได้จิกกิน
- มีการดูแลสุขภาพตามฤดูกาล ตามตำราแพทย์แผนโบราณ เมื่อมีการเปลี่ยนฤดู ไก่จะเป็นหวัดเช่นเดียวกับคน ฤดูฝนโดนละอองฝนและลม ฤดูหนาวโดนน้ำค้างและอากาศหนาว ฤดูร้อนเป็นหวัดแดด ตำราแพทย์แผนโบราณมีการเจียดยาให้กินตามฤดูกาล การเรียนรู้การทำน้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรใส่ในน้ำให้ไก่กิน
- มีการปลูกพืชผักพื้นบ้าน สมุนไพรให้ไก่ได้จิกกินสดๆ หรือทำเป็นยาลูกกลอน แคปซูล หรือทำน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรละลายน้ำให้ไก่กิน
จุดเด่นของสมุนไพรคือ การเสริมสร้างสุขภาพมากกว่าการใช้เป็นยารักษาโรค เนื่องจากพืชสมุนไพรมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบหลายชนิดที่มีฤทธิ์หลายทาง สมุนไพรไม่ใช่สารเคมีเดี่ยว แต่ละตัวจะออกฤทธิ์เสริม หรือกลบฤทธิ์กัน การนำมาใช้ประโยชน์ของสมุนไพรในแต่ละสรรพคุณจะต้องรู้วิธีสกัดสารออกฤทธิ์ ซึ่งหมอยาพื้นบ้านจะเป็นครูที่ดีที่รู้การผสมยาที่เข้ากันให้ได้ผลในการรักษา
จุดเด่นของสมุนไพรอีกประการ ได้แก่ การกระตุ้นการกิน ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ กระตุ้นน้ำย่อยและการดูดซึมอาหาร แก้อักเสบ ฆ่าเชื้อ บางชนิดมีจุดเด่นที่ต้านเชื้อไวรัสหวัด HIV กระตุ้นภูมิต้านทาน
ฉะนั้น สมุนไพรเป็นมากกว่ายารักษาโรค เช่น มะระขี้นก ผักคาวตอง ลูกใต้ใบ น้ำนมราชสีห์ บางชนิดมีจุดเด่นที่ทำให้เจริญอาหารกินไม่เลือก เช่น บอระเพ็ด ขี้เหล็ก ชุมเห็ดเทศ บางชนิดกำจัดพยาธิภายใน เช่น ตาลหม่อน มะเกลือ ชะอม ลูกยอ ลูกหมาก
พืชสมุนไพรที่ควรปลูกไว้บริโภคเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของทั้งคนและไก่ คือ ฟ้าทลายโจร ไพล ขมิ้นชัน พริก บัวบก ผักคาวตอง ผักแพว (ผักไผ่) ผักคราดหัวแหวน (ผักเผ็ด) สะระแหน่ กะเพรา ผักง้วนหมู ผักเชียงดา บอระเพ็ด รางจืด ตะไคร้ ชะอม ยอ สะเดา ขี้เหล็ก ผักหวานบ้าน ย่านาง น้ำนมราชสีห์ สะเดาหิน เป็นต้น
พืชผักเหล่านี้เมื่อไก่ได้จิกกิน ทำให้มีภูมิต้านทานโรค ผลที่ตามมาคือ ไก่สมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มผลผลิต ไข่ดกขึ้น เนื้อปลอดภัย ขายได้ราคา
จินตนา อินทรมงคล กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
1. การรวมกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ โดยจัดระบบการเลี้ยงไก่ในหมู่บ้าน ระบบการป้องกันโรค เช่น การรณรงค์ทำวัคซีนพร้อมกัน การตั้งกฎกติกาการนำไก่นอกหมู่บ้านมาบริโภคและขยายพันธุ์จะต้องมีการกำหนดไว้ ขั้นต่อไปคือการจัดการเรื่องการตลาดยกระดับเพิ่มมูลค่าของสินค้าไก่พื้นเมือง หาตลาดที่ต่อเนื่องเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชน
2. มีการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเรื่องต่างๆ โดยผู้เลี้ยงไก่ต้องเริ่มที่ตนเองก่อน ได้แก่
- ควรมีคอกไก่ มีรางน้ำสะอาดให้กิน เพื่อกันไม่ให้ไปกินน้ำสกปรกใต้ถุนบ้าน คอกที่กันแดด กันฝน มีคอนให้นอน มีรังไข่ที่ปราศจากไร หมัดรบกวน ไม่ใช่ปล่อยให้เกาะตามกิ่งไม้ตามยถากรรม ไก่ไข่ไม่เป็นที่ทาง มีไรรบกวน ทำให้ไก่มีสุขภาพไม่แข็งแรง
- มีการจัดการเรื่องอาหาร ระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม ต้นไม้ใหญ่น้อย พืชผักสมุนไพรให้ไก่ได้จิกกิน ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทำให้มีแมลงตามธรรมชาติให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยกินอย่างเพียงพอ มีผลไม้ เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง ชมพู่ น้อยหน่า ที่ร่วงหล่นให้ไก่ได้จิกกิน
- มีการดูแลสุขภาพตามฤดูกาล ตามตำราแพทย์แผนโบราณ เมื่อมีการเปลี่ยนฤดู ไก่จะเป็นหวัดเช่นเดียวกับคน ฤดูฝนโดนละอองฝนและลม ฤดูหนาวโดนน้ำค้างและอากาศหนาว ฤดูร้อนเป็นหวัดแดด ตำราแพทย์แผนโบราณมีการเจียดยาให้กินตามฤดูกาล การเรียนรู้การทำน้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรใส่ในน้ำให้ไก่กิน
- มีการปลูกพืชผักพื้นบ้าน สมุนไพรให้ไก่ได้จิกกินสดๆ หรือทำเป็นยาลูกกลอน แคปซูล หรือทำน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรละลายน้ำให้ไก่กิน
จุดเด่นของสมุนไพรคือ การเสริมสร้างสุขภาพมากกว่าการใช้เป็นยารักษาโรค เนื่องจากพืชสมุนไพรมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบหลายชนิดที่มีฤทธิ์หลายทาง สมุนไพรไม่ใช่สารเคมีเดี่ยว แต่ละตัวจะออกฤทธิ์เสริม หรือกลบฤทธิ์กัน การนำมาใช้ประโยชน์ของสมุนไพรในแต่ละสรรพคุณจะต้องรู้วิธีสกัดสารออกฤทธิ์ ซึ่งหมอยาพื้นบ้านจะเป็นครูที่ดีที่รู้การผสมยาที่เข้ากันให้ได้ผลในการรักษา
จุดเด่นของสมุนไพรอีกประการ ได้แก่ การกระตุ้นการกิน ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ กระตุ้นน้ำย่อยและการดูดซึมอาหาร แก้อักเสบ ฆ่าเชื้อ บางชนิดมีจุดเด่นที่ต้านเชื้อไวรัสหวัด HIV กระตุ้นภูมิต้านทาน
ฉะนั้น สมุนไพรเป็นมากกว่ายารักษาโรค เช่น มะระขี้นก ผักคาวตอง ลูกใต้ใบ น้ำนมราชสีห์ บางชนิดมีจุดเด่นที่ทำให้เจริญอาหารกินไม่เลือก เช่น บอระเพ็ด ขี้เหล็ก ชุมเห็ดเทศ บางชนิดกำจัดพยาธิภายใน เช่น ตาลหม่อน มะเกลือ ชะอม ลูกยอ ลูกหมาก
พืชสมุนไพรที่ควรปลูกไว้บริโภคเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของทั้งคนและไก่ คือ ฟ้าทลายโจร ไพล ขมิ้นชัน พริก บัวบก ผักคาวตอง ผักแพว (ผักไผ่) ผักคราดหัวแหวน (ผักเผ็ด) สะระแหน่ กะเพรา ผักง้วนหมู ผักเชียงดา บอระเพ็ด รางจืด ตะไคร้ ชะอม ยอ สะเดา ขี้เหล็ก ผักหวานบ้าน ย่านาง น้ำนมราชสีห์ สะเดาหิน เป็นต้น
พืชผักเหล่านี้เมื่อไก่ได้จิกกิน ทำให้มีภูมิต้านทานโรค ผลที่ตามมาคือ ไก่สมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มผลผลิต ไข่ดกขึ้น เนื้อปลอดภัย ขายได้ราคา
จินตนา อินทรมงคล กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง