การทำปุ๋ยอินทรีย์จากตะไคร้หอม
ปุ๋ยตอนนี้กำลังมีปัญหา และดูจะเป็นเรื่องร้อนของใครต่อใครหลายคนทีเดียว ก็ย่อมเป็นธรรมดาเมื่อมองว่าประเทศไทยเป็นเรื่องง่ายสำหรับการหลอกซึ่งกันและกัน เรื่องทำนองอย่างนี้และเช่นนี้ก็ย่อมที่จะปรากฏให้ พบเห็นเรื่อยไป โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรของไทยด้วยแล้ว ดูจะเป็นสิ่งที่มีเกี่ยวดองกันตลอดเวลา ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากที่ว่าที่ผ่านมาหากทำอะไรที่เกี่ยวกับผู้คนส่วนนี้จะไม่ยากและลำบากแต่ประการใดหากหวังที่จะกอบโกยกำไรแบบงาม ๆ เข้ากระเป๋าตัวเองและกลุ่มตน แต่ถึงกระนั้นก็ยังดีที่เป็นเรื่องราวขึ้น มาเช่นนี้ อย่างน้อยจะ ได้รู้กันว่าปัจจุบันนั้นยากมากแล้วสำหรับ การหลอกลวงเกษตรกร
เกี่ยวกับเรื่อง ปุ๋ยเช่นกัน แต่เป็นปุ๋ย ที่สะอาดกว่า คือไม่มาจากการคดโกงหรือมีแนวโน้มเช่นนั้น หากแต่มาจาก แนวคิดเพื่อแก้ปัญหาของ เกษตรกรไทยโดยการนำเอาสิ่งที่มีอยู่มากมายในพื้นที่มาจัดทำโดยการสะสมประสบการณ์ของแต่ละคนมาประยุกต์ และทดลองใช้จนเป็นผลในทางที่ดีที่ให้คุณแก่ความต้อง การของเกษตรกรได้ ซึ่งมีมากมายหลายอย่างและหนึ่งใน นั้นก็คือการทำปุ๋ยและสารไล่แมลงศัตรูพืชจากตะไคร้หอม
สุพรรณี โสภณโภไคย หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมพัฒนาที่ดินบอกมาว่า ในตอนนี้มีการคิดค้นพบพร้อมสรุปได้แล้วว่า ตะไคร้หอมสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยและชีวภาพที่ให้ประโยชน์แก่ต้นไม่ได้ ซึ่ง ล่าสุด นายนุกูล หงษ์หิรัญ หัวหน้าสถานีพัฒนาที่ดินระยอง ได้ทดลองทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่มีส่วนประกอบหลักของตะไคร้หอม นำมาเป็นสารในการปราบศัตรูพืช ไล่แมลง เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี เนื่องจากพบว่าในตะไคร้หอมมีกลิ่นและมีสารที่สามารถป้องกันแมลงได้หลายตัวเช่น หนอนกระทู้ ด้วง ถั่วเขียว เพลี้ยจักจั่นเรไร ต่าง ๆ รวมทั้งยุงด้วย เหมาะที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่สามารถใช้ได้ทั้งป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแทนสารเคมีได้เป็นอย่างดี และไม่ แพ้สะเดา
สำหรับวิธีการทำไม่ยากนัก อย่างแรกใช้วิธีแบบเดี่ยวมีแค่เพียงตะไคร้หอมไม่มีส่วนผสมของพืชสมุนไพรชนิดอื่นผสมอยู่ วิธีการเริ่มจากนำตะไคร้หอม 5 กิโลกรัม ที่มีอายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป นำมาบดให้ละเอียดแล้ว แช่น้ำสะอาด 10 ลิตร ผสมคลุกเคล้าหมักเข้ากับน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม และหัวเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 1 ซอง หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ในถังปิดฝา อัตรา 1 : 200 ฉีดพ่นทุก 7 วัน
อีกวิธีใช้แบบรวมตำรับมี 2 สูตร ด้วยกันคือ มีส่วนผสมสมุนไพรชนิดอื่นผสม สูตรที่ 1 ประกอบด้วยยาฉุน 1 กิโลกรัม สะเดา 1 กิโลกรัม หัวข่า 2 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 2 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ซอง น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม น้ำสะอาด 20 ลิตร นำมาคลุกเคล้าหมักทิ้งไว้ 7 วัน ในถังปิดฝา อัตราการใช้ 1 : 200 ฉีดพ่นทุก 7 วัน สูตรที่ 2 มีส่วนผสมของว่านน้ำ 2 กิโลกรัม สาบเสือ 2 กิโลกรัม ยาฉุน 1 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 2 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ซอง น้ำสะอาด 20 ลิตร นำมาคลุกเคล้าหมักทิ้งไว้ 7 วัน ในถังปิดฝาอัตราการใช้ 1 : 200
ขั้นตอนสุดท้าย ก่อนนำไปใช้ควรกรองกากตะกอนหลาย ๆ ครั้ง นำไปฉีดพ่นแปลงเพาะปลูกพืชไร่ สามารถกำจัดด้วงกินใบ หนอนด้วงใบ และหนอนกระทู้ผักได้ดีมาก น้ำหมักที่เหลือควรใส่ขวดสีชาและเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติอย่าให้ถูกแสงแดดโดยเด็ดขาด อย่างไรก็ตามการฉีดพ่นอาจจะไม่เห็นผลทันตาเนื่องจากเป็นสารจากธรรมชาติ ดังนั้นในระยะแรกอาจจะฉีดพ่นในช่วง 3-5 วัน จากนั้นอาจจะห่างไป 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน
การฉีดพ่น ให้พ่นสลับกันอย่างละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันแมลง เช่น เพลี้ยอ่อนเพลี้ยไฟไรแดง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ให้ใช้สลับกันอย่างต่อเนื่องทุก 7-10 วัน ตะไคร้หอมตามสูตรต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากสามารถไล่และกำจัดแมลงศัตรูพืชได้แล้วยังมีส่วนในการบำรุงดินให้ดินมีอาหารพืชมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองหลายสวนนำไปใช้ได้ผลภายในหนึ่งฤดูการผลิตหลายราย
เกี่ยวกับเรื่อง ปุ๋ยเช่นกัน แต่เป็นปุ๋ย ที่สะอาดกว่า คือไม่มาจากการคดโกงหรือมีแนวโน้มเช่นนั้น หากแต่มาจาก แนวคิดเพื่อแก้ปัญหาของ เกษตรกรไทยโดยการนำเอาสิ่งที่มีอยู่มากมายในพื้นที่มาจัดทำโดยการสะสมประสบการณ์ของแต่ละคนมาประยุกต์ และทดลองใช้จนเป็นผลในทางที่ดีที่ให้คุณแก่ความต้อง การของเกษตรกรได้ ซึ่งมีมากมายหลายอย่างและหนึ่งใน นั้นก็คือการทำปุ๋ยและสารไล่แมลงศัตรูพืชจากตะไคร้หอม
สุพรรณี โสภณโภไคย หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมพัฒนาที่ดินบอกมาว่า ในตอนนี้มีการคิดค้นพบพร้อมสรุปได้แล้วว่า ตะไคร้หอมสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยและชีวภาพที่ให้ประโยชน์แก่ต้นไม่ได้ ซึ่ง ล่าสุด นายนุกูล หงษ์หิรัญ หัวหน้าสถานีพัฒนาที่ดินระยอง ได้ทดลองทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่มีส่วนประกอบหลักของตะไคร้หอม นำมาเป็นสารในการปราบศัตรูพืช ไล่แมลง เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี เนื่องจากพบว่าในตะไคร้หอมมีกลิ่นและมีสารที่สามารถป้องกันแมลงได้หลายตัวเช่น หนอนกระทู้ ด้วง ถั่วเขียว เพลี้ยจักจั่นเรไร ต่าง ๆ รวมทั้งยุงด้วย เหมาะที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่สามารถใช้ได้ทั้งป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแทนสารเคมีได้เป็นอย่างดี และไม่ แพ้สะเดา
สำหรับวิธีการทำไม่ยากนัก อย่างแรกใช้วิธีแบบเดี่ยวมีแค่เพียงตะไคร้หอมไม่มีส่วนผสมของพืชสมุนไพรชนิดอื่นผสมอยู่ วิธีการเริ่มจากนำตะไคร้หอม 5 กิโลกรัม ที่มีอายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป นำมาบดให้ละเอียดแล้ว แช่น้ำสะอาด 10 ลิตร ผสมคลุกเคล้าหมักเข้ากับน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม และหัวเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 1 ซอง หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ในถังปิดฝา อัตรา 1 : 200 ฉีดพ่นทุก 7 วัน
อีกวิธีใช้แบบรวมตำรับมี 2 สูตร ด้วยกันคือ มีส่วนผสมสมุนไพรชนิดอื่นผสม สูตรที่ 1 ประกอบด้วยยาฉุน 1 กิโลกรัม สะเดา 1 กิโลกรัม หัวข่า 2 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 2 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ซอง น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม น้ำสะอาด 20 ลิตร นำมาคลุกเคล้าหมักทิ้งไว้ 7 วัน ในถังปิดฝา อัตราการใช้ 1 : 200 ฉีดพ่นทุก 7 วัน สูตรที่ 2 มีส่วนผสมของว่านน้ำ 2 กิโลกรัม สาบเสือ 2 กิโลกรัม ยาฉุน 1 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 2 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ซอง น้ำสะอาด 20 ลิตร นำมาคลุกเคล้าหมักทิ้งไว้ 7 วัน ในถังปิดฝาอัตราการใช้ 1 : 200
ขั้นตอนสุดท้าย ก่อนนำไปใช้ควรกรองกากตะกอนหลาย ๆ ครั้ง นำไปฉีดพ่นแปลงเพาะปลูกพืชไร่ สามารถกำจัดด้วงกินใบ หนอนด้วงใบ และหนอนกระทู้ผักได้ดีมาก น้ำหมักที่เหลือควรใส่ขวดสีชาและเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติอย่าให้ถูกแสงแดดโดยเด็ดขาด อย่างไรก็ตามการฉีดพ่นอาจจะไม่เห็นผลทันตาเนื่องจากเป็นสารจากธรรมชาติ ดังนั้นในระยะแรกอาจจะฉีดพ่นในช่วง 3-5 วัน จากนั้นอาจจะห่างไป 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน
การฉีดพ่น ให้พ่นสลับกันอย่างละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันแมลง เช่น เพลี้ยอ่อนเพลี้ยไฟไรแดง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ให้ใช้สลับกันอย่างต่อเนื่องทุก 7-10 วัน ตะไคร้หอมตามสูตรต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากสามารถไล่และกำจัดแมลงศัตรูพืชได้แล้วยังมีส่วนในการบำรุงดินให้ดินมีอาหารพืชมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองหลายสวนนำไปใช้ได้ผลภายในหนึ่งฤดูการผลิตหลายราย