กระเฉดบกผักพื้นบ้านไทยปลูกมากด้วยคุณค่า
สมุนไพรไทยจะไม่มีวันเสื่อมคลายอย่างแน่นอน
วันนี้มีปัญหาเรื่องไข้หวัดนกไก่ต้องสังเวยโรคนี้ไปกว่า 10 ล้านตัว
แต่มีอยู่ส่วนหนึ่งที่ไม่มีปัญหาเพราะเลี้ยงกันด้วยการให้กินสมุนไพรไทยควบคู่กับอาหารสัตว์ทั่วไปซึ่งไม่น่าจะนานนักคงมีการเปิดเผยเรื่องนี้ออกมาอย่างเป็นกิจจะลักษณะจากส่วนที่เกี่ยวข้อง
แต่ก่อนถึงเรื่องนั้นวันนี้ขอกล่าวถึงเรื่องนี้ก่อนคือเรื่องของผักกระเฉดต้นหรือที่ชาวบ้านทั่วไปในชนบทเรียกกันว่าผักกระเฉดบก คุณอมรศรี ตุ้ยระพิงค์ จากกรมส่งเสริมการเกษตรบอกมาว่า นับตั้งแต่ที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาปลูกผักพื้นบ้านเพื่อการบริโภคและการค้าเสริมรายได้ ก็มีการตื่นตัวและยอมรับผักพื้นบ้านมากขึ้นและยิ่งมีผลงานการวิจัยพบว่าผักพื้นบ้านไทยมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าผักฝรั่งหลายเท่าตัว ประกอบกับความต้องการความปลอดภัยในการบริโภคผักมีสูงมาก ผักพื้นบ้านจึงมีความโดดเด่นเป็นที่กล่าวขาน และต้องการปลูกไว้เพื่อการบริโภคเองภายในครัวเรือนมากขึ้น
คุณอมรศรียังบอกด้วยว่า ผักพื้นบ้านนั้นสามารถจำแนกได้ 3 แหล่งด้วยกัน แหล่งแรกคือมาจากป่าธรรมชาติซึ่งขณะนี้กำลังจะหมดไปหรือเหลือน้อยลง ประกอบกับผู้ที่รู้เรื่องการบริโภคผักพื้นบ้านก็เหลือน้อยลงด้วย แหล่งที่สองมาจากพืชสวนไร่นา ได้แก่จำพวกผักหวานและอีกแหล่งก็คือประเภทพืชผักสวนครัวทั่วไปได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักชี เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ผักพื้นบ้านที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนก็คือผักที่มาจากป่าธรรมชาติ
ล่าสุดมีเกษตรกรท่านหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่อง นี้ได้นำสมุนไพรไปปลูกในกระถางแบบไม้ประดับทั่วไป เกษตรกรท่านนั้นคือ อาจารย์ปล่าม แสงสว่าง ผู้ซึ่งได้อำลาอาชีพครูมาปลูกต้นไม้ หลังจากที่เดินทางไปศึกษากรรมวิธีการปลูกการขยายพันธ์พืชชนิดต่าง ๆ ณ อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้านจากทั่วทุกภาคของประเทศ มีการรวบรวมพันธ์ผักพื้นบ้านไว้ได้มากกว่า 500 ชนิด ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีและปัจจุบันได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรที่ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก
อาจารย์ปล่าม สนใจในผักชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะยอดอ่อนรับประทานได้เหมือนผักกระเฉด ไม่ว่าจะนำไปต้มยำผักหรือลวก และปลอดภัยกว่าเพราะไม่มีโรคแมลงรบกวน ใบมีลักษณะคล้ายผักกระเฉดคือมีใบย่อยขนาดเล็ก 4-5 มิลลิเมตร ปลายใบกลมมน ใบหุบเข้าหากันเมื่อเจอแรงสัมผัส แต่ปลูกอยู่บนบก ไม่มีทุ่นลอยหรือนมและรากตามข้อ ดอกย่อยขนาน 1-2 เซนติเมตร สีเหลือง อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งสูงมาก สามารถเก็บยอดอ่อนได้ทุก 7 วัน ขยายพันธ์ด้วยเมล็ดจากฝักแห้งหรือการปักชำ หากปลูกในกระถางสามารถตัดแต่งเป็นไม้ประดับได้ หากนำลงดินก็จะเป็นพืชโตเร็ว ลำต้นสามารถนำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ หัตถกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้มากมายแล้ว แต่จินตนาการของผู้คิดค้นหรือผู้ทำ พืชชนิดนี้ก็คือ กระเฉดต้นหรือกระเฉดบกนั่นเอง
ท่านผู้อ่านที่สนใจในพืชชนิดนี้ไปดูได้ด้วยตาตนเองที่งานเกษตรแฟร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กท. ซึ่งงานยังมีไปจนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กระเฉดต้นหรือกระเฉดบกนี้ คุณอมรศรีบอกมาว่าทางอาจารย์ปล่าม ได้นำมาจัดแสดงไว้ในงานด้วย หรือถ้าหากไม่มีเวลาไปดูที่งานดังกล่าวแต่ยังมีความสนใจอยู่ก็เดินทางไปดูพร้อมศึกษาเพื่อนำไปปลูกเองบ้างที่บ้านก็ได้ที่ อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพบึงฉวาก จ.สุพรรณบุรี ที่นั่นมีการปลูกขึ้นมาเพื่อเป็นการสาธิตนะครับ.
ด็อก เตอร์ พี.
แต่ก่อนถึงเรื่องนั้นวันนี้ขอกล่าวถึงเรื่องนี้ก่อนคือเรื่องของผักกระเฉดต้นหรือที่ชาวบ้านทั่วไปในชนบทเรียกกันว่าผักกระเฉดบก คุณอมรศรี ตุ้ยระพิงค์ จากกรมส่งเสริมการเกษตรบอกมาว่า นับตั้งแต่ที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาปลูกผักพื้นบ้านเพื่อการบริโภคและการค้าเสริมรายได้ ก็มีการตื่นตัวและยอมรับผักพื้นบ้านมากขึ้นและยิ่งมีผลงานการวิจัยพบว่าผักพื้นบ้านไทยมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าผักฝรั่งหลายเท่าตัว ประกอบกับความต้องการความปลอดภัยในการบริโภคผักมีสูงมาก ผักพื้นบ้านจึงมีความโดดเด่นเป็นที่กล่าวขาน และต้องการปลูกไว้เพื่อการบริโภคเองภายในครัวเรือนมากขึ้น
คุณอมรศรียังบอกด้วยว่า ผักพื้นบ้านนั้นสามารถจำแนกได้ 3 แหล่งด้วยกัน แหล่งแรกคือมาจากป่าธรรมชาติซึ่งขณะนี้กำลังจะหมดไปหรือเหลือน้อยลง ประกอบกับผู้ที่รู้เรื่องการบริโภคผักพื้นบ้านก็เหลือน้อยลงด้วย แหล่งที่สองมาจากพืชสวนไร่นา ได้แก่จำพวกผักหวานและอีกแหล่งก็คือประเภทพืชผักสวนครัวทั่วไปได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักชี เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ผักพื้นบ้านที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนก็คือผักที่มาจากป่าธรรมชาติ
ล่าสุดมีเกษตรกรท่านหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่อง นี้ได้นำสมุนไพรไปปลูกในกระถางแบบไม้ประดับทั่วไป เกษตรกรท่านนั้นคือ อาจารย์ปล่าม แสงสว่าง ผู้ซึ่งได้อำลาอาชีพครูมาปลูกต้นไม้ หลังจากที่เดินทางไปศึกษากรรมวิธีการปลูกการขยายพันธ์พืชชนิดต่าง ๆ ณ อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้านจากทั่วทุกภาคของประเทศ มีการรวบรวมพันธ์ผักพื้นบ้านไว้ได้มากกว่า 500 ชนิด ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีและปัจจุบันได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรที่ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก
อาจารย์ปล่าม สนใจในผักชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะยอดอ่อนรับประทานได้เหมือนผักกระเฉด ไม่ว่าจะนำไปต้มยำผักหรือลวก และปลอดภัยกว่าเพราะไม่มีโรคแมลงรบกวน ใบมีลักษณะคล้ายผักกระเฉดคือมีใบย่อยขนาดเล็ก 4-5 มิลลิเมตร ปลายใบกลมมน ใบหุบเข้าหากันเมื่อเจอแรงสัมผัส แต่ปลูกอยู่บนบก ไม่มีทุ่นลอยหรือนมและรากตามข้อ ดอกย่อยขนาน 1-2 เซนติเมตร สีเหลือง อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งสูงมาก สามารถเก็บยอดอ่อนได้ทุก 7 วัน ขยายพันธ์ด้วยเมล็ดจากฝักแห้งหรือการปักชำ หากปลูกในกระถางสามารถตัดแต่งเป็นไม้ประดับได้ หากนำลงดินก็จะเป็นพืชโตเร็ว ลำต้นสามารถนำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ หัตถกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้มากมายแล้ว แต่จินตนาการของผู้คิดค้นหรือผู้ทำ พืชชนิดนี้ก็คือ กระเฉดต้นหรือกระเฉดบกนั่นเอง
ท่านผู้อ่านที่สนใจในพืชชนิดนี้ไปดูได้ด้วยตาตนเองที่งานเกษตรแฟร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กท. ซึ่งงานยังมีไปจนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กระเฉดต้นหรือกระเฉดบกนี้ คุณอมรศรีบอกมาว่าทางอาจารย์ปล่าม ได้นำมาจัดแสดงไว้ในงานด้วย หรือถ้าหากไม่มีเวลาไปดูที่งานดังกล่าวแต่ยังมีความสนใจอยู่ก็เดินทางไปดูพร้อมศึกษาเพื่อนำไปปลูกเองบ้างที่บ้านก็ได้ที่ อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพบึงฉวาก จ.สุพรรณบุรี ที่นั่นมีการปลูกขึ้นมาเพื่อเป็นการสาธิตนะครับ.
ด็อก เตอร์ พี.