การจัดการหนอนกออ้อย
หนอนกออ้อยทำความเสียหายแก่อ้อยมากในแต่ละปี และยากแก่การป้องกันกำจัด การเข้าทำลายระยะแรกเห็นได้ยาก จะทราบต่อเมื่ออ้อยถูกทำลายไปแล้ว มักพบในแหล่งปลูกอ้อยทั่วประเทศ หนอนกออ้อยที่พบในประเทศไทยมี 5 ชนิด คือ
- หนอนกอลายจุดเล็ก
- หนอนกอสีขาว
- หนอนกอใหญ่
- หนอนกอสีชมพู
- หนอนกอลายจุดใหญ่
การเข้าทำลาย
หนอนกออ้อยเข้าทำลายอ้อย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่อ้อยแตกกอ และระยะที่อ้อยเป็นลำ เท่ากับว่าหนอนกออ้อยเข้าทำลายเกือบตลอดอายุการเจริญเติบโตตั้งแต่อ้อยเริ่มงอกจนกระทั่งตัดเข้าโรงงาน
ระยะอ้อยแตกกอ
ในระยะอ้อยแตกกอส่วนใหญ่พบการเข้าทำลายของหนอนกอ 4 ชนิด คือ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว หนอนกอลายใหญ่ และหนอนกอสีชมพู อยู่คละกัน ชนิดไหนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่การระบาดทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง ผลการทำลายจะปรากฎความเสียหายให้เห็นหลังจากที่หนอนเข้าไปเจาะกินอยู่ภายในลำต้นและทำให้เกิดอาการยอดเหี่ยว หรือ ยอดแห้งตาย ซึ่งจะปรากฎช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับอายุของอ้อย
ระยะอ้อยเป็นลำ
การเข้าทำลายในอ้อยอายุ 5 – 12 เดือนที่พบและสร้างความเสียหาย ได้แก่ หนอนกอลายจุดใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความชื้นสูง พื้นที่ปลูกอ้อยติดกับนาข้าวและพันธุ์อ้อยอ่อนแอ ถ้าระบาดมากในอ้อย 1 ลำ จะพบหนอนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 100 ตัว เมื่อมีความชื้นลดลง อากาศเย็น หนอนกอลายจุดใหญ่ จะทิ้งตัวลงข้างล่างเจาะเข้าไปในโคนอ้อย หลังจากตัดอ้อยเข้าโรงงานจะพบรูทำลายที่ตออ้อยแนวทางการป้องกัน
1.สำรวจดูกออ้อยว่ามีการเจาะทำลายของหนอนกออ้อยหรือไม่ โดยดูจากรอยทำลายที่ตออ้อยนับ % การเข้าทำลายลำทั้งหมด ของกอนั้นถ้าพบเปอร์เช็นต์การเข้าทำลายมากกว่า 10% ลำให้ทำการกำจัดโดย
ระยะอ้อยแตกกอ
- สำรวจความเสียหายของอ้อยจากการเข้าทำลายของหนอนโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง ระยะอายุอ้อย 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง ใช้จำนวนตัวอย่างไร่ละ 100 กอ ถ้าอ้อยอายุ 2 – 4 เดือน ใช้จำนวนตัวอย่างไร่ละ 50 กอ ถ้าพบหนอนเข้าทำลายในระยะแตกกอมากกว่า 10% ให้ทำการป้องกันกำจัดโดย
ในระยะอ้อยเป็นลำ
เกษตรกรจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นระยะที่ทำการป้องกันกำจัดได้ยาก เนื่อจากอ้อยสูงมาก
1.ตัดยอดหรือลำที่ถูกทำลายทิ้งหรือนำหนอนมาเป็นอาหาร2.ถ้าพบการทำลายไม่ถึง 10% ของพื้นที่ไม่ต้องทำการป้องกันกำจัด ถ้าพบการทำลายมากกว่า 10 % ให้ปล่อยแตนเบียนไข่ อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ หรือ แตนเบียนหนอน อัตรา 500 ตัวต่อไร่
วิธีปฏิบัติในการจัดการหนอนกออ้อย
1. ก่อนและหลังการตัดอ้อยส่งเข้าโรงงานไม่ควรเผาใบอ้อยเพราะจะทำให้เกิดการระบาดของหนอนกออ้อยรุนแรงมากขึ้น
2. ในแหล่งที่หนอนกออ้อยระบาดอยู่เป็นประจำควรปลูกพันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทานต่อการทำลายของหนอนกออ้อย เช่น อู่ทอง 1, เค 84-200 , เอฟ 156
3. ทำลายตออ้อยที่มีหนอนกออ้อยเข้าทำลายโดยทำการสำรวจทันทีหลังจากตัดอ้อยส่งโรงงาน ถ้าพบถึงระดับ 50% ให้ไถตอแล้วรวบรวมเผาทันที
4. ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงควรปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของหนอนกออ้อย เช่น ถั่วต่าง ๆ ,ข้าวโพด ,ปอเทือง ฯลฯ
5. การเตรียมท่อนพันธุ์อ้อยก่อนปลูกในพื้นที่ที่มีหนอนกออ้อยระบาดให้ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- หนอนกอลายจุดเล็ก
- หนอนกอสีขาว
- หนอนกอใหญ่
- หนอนกอสีชมพู
- หนอนกอลายจุดใหญ่
การเข้าทำลาย
หนอนกออ้อยเข้าทำลายอ้อย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่อ้อยแตกกอ และระยะที่อ้อยเป็นลำ เท่ากับว่าหนอนกออ้อยเข้าทำลายเกือบตลอดอายุการเจริญเติบโตตั้งแต่อ้อยเริ่มงอกจนกระทั่งตัดเข้าโรงงาน
ระยะอ้อยแตกกอ
ในระยะอ้อยแตกกอส่วนใหญ่พบการเข้าทำลายของหนอนกอ 4 ชนิด คือ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว หนอนกอลายใหญ่ และหนอนกอสีชมพู อยู่คละกัน ชนิดไหนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่การระบาดทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง ผลการทำลายจะปรากฎความเสียหายให้เห็นหลังจากที่หนอนเข้าไปเจาะกินอยู่ภายในลำต้นและทำให้เกิดอาการยอดเหี่ยว หรือ ยอดแห้งตาย ซึ่งจะปรากฎช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับอายุของอ้อย
ระยะอ้อยเป็นลำ
การเข้าทำลายในอ้อยอายุ 5 – 12 เดือนที่พบและสร้างความเสียหาย ได้แก่ หนอนกอลายจุดใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความชื้นสูง พื้นที่ปลูกอ้อยติดกับนาข้าวและพันธุ์อ้อยอ่อนแอ ถ้าระบาดมากในอ้อย 1 ลำ จะพบหนอนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 100 ตัว เมื่อมีความชื้นลดลง อากาศเย็น หนอนกอลายจุดใหญ่ จะทิ้งตัวลงข้างล่างเจาะเข้าไปในโคนอ้อย หลังจากตัดอ้อยเข้าโรงงานจะพบรูทำลายที่ตออ้อยแนวทางการป้องกัน
1.สำรวจดูกออ้อยว่ามีการเจาะทำลายของหนอนกออ้อยหรือไม่ โดยดูจากรอยทำลายที่ตออ้อยนับ % การเข้าทำลายลำทั้งหมด ของกอนั้นถ้าพบเปอร์เช็นต์การเข้าทำลายมากกว่า 10% ลำให้ทำการกำจัดโดย
- ตัดผ่านลำเพื่อทำลายตัวหนอน
- ฉีดพ่นเชื้อ Bacillus thuringiensis(BT) อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ระยะอ้อยแตกกอ
- สำรวจความเสียหายของอ้อยจากการเข้าทำลายของหนอนโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง ระยะอายุอ้อย 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง ใช้จำนวนตัวอย่างไร่ละ 100 กอ ถ้าอ้อยอายุ 2 – 4 เดือน ใช้จำนวนตัวอย่างไร่ละ 50 กอ ถ้าพบหนอนเข้าทำลายในระยะแตกกอมากกว่า 10% ให้ทำการป้องกันกำจัดโดย
- ปล่อยแตนเบียนไข่ในระยะพบไข่, - ปล่อยแตนเบียนหนอนในระยะพบหนอน
- ฉีดพ่นเชื้อ Bacillus thuringiensis(BT) อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ในระยะอ้อยเป็นลำ
เกษตรกรจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นระยะที่ทำการป้องกันกำจัดได้ยาก เนื่อจากอ้อยสูงมาก
1.ตัดยอดหรือลำที่ถูกทำลายทิ้งหรือนำหนอนมาเป็นอาหาร2.ถ้าพบการทำลายไม่ถึง 10% ของพื้นที่ไม่ต้องทำการป้องกันกำจัด ถ้าพบการทำลายมากกว่า 10 % ให้ปล่อยแตนเบียนไข่ อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ หรือ แตนเบียนหนอน อัตรา 500 ตัวต่อไร่
วิธีปฏิบัติในการจัดการหนอนกออ้อย
1. ก่อนและหลังการตัดอ้อยส่งเข้าโรงงานไม่ควรเผาใบอ้อยเพราะจะทำให้เกิดการระบาดของหนอนกออ้อยรุนแรงมากขึ้น
2. ในแหล่งที่หนอนกออ้อยระบาดอยู่เป็นประจำควรปลูกพันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทานต่อการทำลายของหนอนกออ้อย เช่น อู่ทอง 1, เค 84-200 , เอฟ 156
3. ทำลายตออ้อยที่มีหนอนกออ้อยเข้าทำลายโดยทำการสำรวจทันทีหลังจากตัดอ้อยส่งโรงงาน ถ้าพบถึงระดับ 50% ให้ไถตอแล้วรวบรวมเผาทันที
4. ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงควรปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของหนอนกออ้อย เช่น ถั่วต่าง ๆ ,ข้าวโพด ,ปอเทือง ฯลฯ
5. การเตรียมท่อนพันธุ์อ้อยก่อนปลูกในพื้นที่ที่มีหนอนกออ้อยระบาดให้ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาวอัตรา 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 27 ชั่วโมง
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำธรรมดา นาน 25 ชั่วโมง
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง(ทุกวิธีที่แช่ต้องแช่ท่อนพันธุ์อ้อยให้จมอยู่ใต้น้ำ)
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำธรรมดา นาน 25 ชั่วโมง
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง(ทุกวิธีที่แช่ต้องแช่ท่อนพันธุ์อ้อยให้จมอยู่ใต้น้ำ)
6. ไถกำจัดวัชพืชระหว่างร่องอ้อยและกำจัดวัชพืชรอบ ๆ แปลงเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของผีเสื้อ
7. สำรวจแปลงอ้อยเป็นประจำเก็บกลุ่มไข่และตัดยอดอ้อยที่ถูกทำลายเพื่อทำลายตัวหนอน
8.ควรอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อยโดยไม่ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงโดยไม่จำเป็นและไม่ถูกวิธี
9.เมื่อพบปริมาณหนอนกออ้อยในแปลงเพื่อมากขึ้นกว่าปกติ ควรปล่อยแตนเบียนไข่ Trichogramma sp หรือแมลงศัตรูธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อลดปริมาณหนอนกออ้อยในไร่อ้อยให้น้อยลง
(รูปภาพจาก http://www.nbaii.res.in/insectpests/Chilo-infuscatellus.php)
7. สำรวจแปลงอ้อยเป็นประจำเก็บกลุ่มไข่และตัดยอดอ้อยที่ถูกทำลายเพื่อทำลายตัวหนอน
8.ควรอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อยโดยไม่ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงโดยไม่จำเป็นและไม่ถูกวิธี
9.เมื่อพบปริมาณหนอนกออ้อยในแปลงเพื่อมากขึ้นกว่าปกติ ควรปล่อยแตนเบียนไข่ Trichogramma sp หรือแมลงศัตรูธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อลดปริมาณหนอนกออ้อยในไร่อ้อยให้น้อยลง
(รูปภาพจาก http://www.nbaii.res.in/insectpests/Chilo-infuscatellus.php)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง