เทคนิคผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนเพื่อการค้า

ปลูกในที่ลุ่ม
ผักบุ้งจีนจัดเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมบริโภคกันมาก แต่การบริโภคแต่ละครั้งต้องใช้ปริมาณผักบุ้งจีนเป็นจำนวนไม่น้อย เพราะผักบุ้งที่เรานำมาบริโภค 1 ยอด มาจากผักบุ้งจีนที่ถอนมาทั้งต้น ดังนั้นความต้องการเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่นำไปผลิตเพื่อการบริโภคจึงมีมาก แต่ก็ยังพบว่ามีการปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตพันธุ์เป็นการค้าอยู่ในปริมาณที่ไม่มากนัก เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนส่วนใหญ่จึงยังมีการนำเข้า ผู้เขียนจึงเห็นว่าเมล็ดพันธุ์ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนเพื่อเป็นการค้าเป็นอาชีพที่น่าสนใจของเกษตรกรอีกอาชีพหนึ่ง จึงได้สอบถามหาแหล่งปลูกเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการค้าดังกล่าวมานำเสนอเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพเกษตรและพบว่ามีการปลูกกันมากแถวจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้ตามไปดูเพื่อนำข้อมูลด้านวิธีการปลูกมาเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในการผลิตสำหรับเกษตรกรที่สนใจ

การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการค้า สามารถปลูกได้ทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม ซึ่งถ้าปลูกในสภาพที่ดอน เรียกว่า “ไร่ผักบุ้ง” แต่ที่กาญจนบุรีปลูกในที่ลุ่ม เรียกว่า “นาผักบุ้ง” ในด้านปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การปลูกผักบุ้งจีนในที่ลุ่มแบบนาข้าวจะให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดีกว่าการปลูกในที่ดอน โดยทั่วไปการปลูกผักบุ้งจีนในที่ลุ่มแบบนาข้าวจะให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 200 –300 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนในที่ดอนสภาพไร่จะให้ผลผลิต ประมาณ 150 –200 กิโลกรัม ต่อไร่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สภาพพื้นที่ปลูก และการปฏิบัติดูแลรักษา สำหรับในฉบับนี้จะขอนำเสนอการปลูกในที่ลุ่มก่อน

จากข้อมูลที่ประมวลได้จากเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งทำให้ทราบพื้นฐานของเทคโนโลยีการปลูกผักบุ้งจีนในที่ลุ่มว่าสามารถทำได้โดยการปักดำยอดผักบุ้งหรือท่อนพันธุ์ผักบุ้งลงปลูกในนาเช่นเดียวกับการทำนาข้าว ซึ่งวิธีการปลูกและปฏิบัติดูแลมีดีงนี้

การเลือกพื้นที่ปลูก
การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ในที่ลุ่มนั้น ควรเลือกปลูกในพื้นที่ที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก แหล่งใดที่ปลูกข้าวได้ดีก็สามารถนำผักบุ้งจีนไปปลูกได้แต่นาข้าวในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีผักบุ้งไทยอยู่มาก ฤดูปลูกที่เหมาะสมโดยทั่วไปจะเริ่มเพาะกล้าหรือหยอดเมล็ดลงเพาะกล้าตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป พอถึงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคมจึงสามารถตัดยอดผักบุ้งจีนลงปลูกในนาต่อไป

การเตรียมดิน
สามารถเตรียมได้โดยการใช้รถแทรกเตอร์ไถดะตากดินไว้ ประมาณ 15 – 30 วัน แล้วไถแปรเอาน้ำเข้าแปลง ใช้รถแทรกเตอร์แบบไถเดินตามคราดย่อยดินทำเทือกแบบนาข้าว หรือจะเตรียมดินแบบทำนาข้าวก็ได้

การเพาะกล้า
ต้องนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งพันธุ์การค้าที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์มาหยอดเมล็ดเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 เมล็ด ระยะระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกผักบุ้งจีนได้ 1,600 หลุม ก่อนหยอดเมล็ดให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หลุมละ 1-2 กำมือ รดน้ำให้ความชื้นแก่แปลงเพาะกล้าอยู่เสมอ เมื่อผักบุ้งจีนไม่สมบูรณ์และไม่แข็งแรง แล้วใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเมื่อผักบุ้งจีนมีอายุได้ ประมาณ 20 – 30 วัน ให้ใช้กรรไกรตัดยอดผักบุ้งจีนออกทุกต้นเพื่อเป็นการกระต้นให้ผักบุ้งจีนมีการแตกแขนงหรือมีการทอดยอดทางด้านข้างจำนวนมากขึ้น โดยแปลงเพาะกล้าในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถตัดยอดผักบุ้งจีนไปปักดำได้ ประมาณ 5-8 ไร่

การเตรียมท่อนพันธุ์

ก่อนที่จะนำท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนลงปลูกในนาข้าว 2-3 วัน ควรมีการตัดยอดผักบุ้งจีนออกจากแปลงเพาะกล้า โดยตัดจากยอดลงมาหาโคนต้น ยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร หรือให้มีข้อ 5-6 ข้อ และช่วงยอดที่ถัดมาหาโคนต้น ข้อที่ 7-12 ก็สามารถตัดมาเป็นท่อนพันธุ์ได้ ท่อนพันธุ์ส่วนที่มียอดให้ตัดยอดออก แล้วนำมารวมกับท่อนพันธุ์ช่วงที่ตัดต่อ ห่อด้วยใบตองหรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่ รดน้ำให้ความชื้นแล้วเก็บไว้ในที่ร่ม ประมาณ 1-2 เดือน จะมีรากงอกออกมาตามข้อของผักบุ้งจีนก็สามารถนำท่อนพันธุ์ดังกล่าวไปปลูกลงแปลงได้ท่อนพันธุ์ที่มีรากออกมาแล้วจะตั้งตัวได้เร็วขึ้น ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนที่มีโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนอยู่มากควรนำท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนมาจุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงชนิดดูดซึมก่อนนำไปปลูก

การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์
หลังจากเตรียมดินทำเทือกในนาผักบุ้งจีนแล้วให้ระบายน้ำออกจากแปลง จากนั้นนำยอดหรือท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนมาปักดำแบบนาข้าว ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 1 เมตร การปลูกผักบุ้งจีน แต่ละจุดหรือแต่ละครั้งจะใช้ท่อนพันธุ์ 1- 3 ท่อน ขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกชาหรือเร็วกว่าช่วงปกติ ถ้าปลูกเร็วกว่าปกติมากใช้ท่อนพันธุ์ 1 ท่อน ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าปลูกช้ากว่าปกติมากก็ควรมีการเพิ่มจำนวนท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนมากกว่าการปลูกยอดหรือท่อนพันธุ์ท่อนเดียวมาก ในการปักดำผักบุ้งจีนแต่ละครั้งควรหันยอดพันธุ์ผักบุ้งจีนไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ให้ยอดพันธุ์เฉียงออกทางด้านขวามือของผู้ปักดำทั้งหมด เป็นต้น และหลังจากปักดำผักบุ้งจีนแล้วควรมีการควบคุมวัชพืชในนาผักบุ้งจีนด้วย

ลักษณะการปักดำผักบุ้งจีนในการทำนาผักบุ้ง
การปฏิบัติดูแล
การให้น้ำ: หลังจากปลูกผักบุ้งจีนได้ประมาณ 5-7 วันท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนจะเริ่มตั้งตัวได้ก็ให้นำน้ำเข้าแปลงเพียงเล็กน้อย ระดับน้ำสูง ประมาณ 15-20 เซนติเมตร หลังจากปลูกได้ 30 วัน ขึ้นไปก็นำน้ำเข้าแปลง เมื่อผักบุ้งจีนอายุ ประมาณ 90-100 วัน จะทอดยอดคลุมทั้งาผักบุ้งและมีการออกดอกติดผลเต็มที่แล้วให้ระบายน้ำออกจากแปลงทั้งหมด เมื่อเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนแก่สามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ได้ พื้นที่ปลูกผักบุ้งจีนก็จะแห้งพอดีทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ 

การกำจัดวัชพืช:
 หลังจากปักดำท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนลงแปลงนาแล้วควรมีการกำจัดวัชพืชโดยวิธีถอนด้วยมือ หรือฉีดพ่นสารเคมีคุมการงอกของวัชพืชด้วยมือ หรือฉีดพ่นสารเคมีคุมการงอกของวัชพืชด้วยทุกครั้ง เพราะจะสะดวกและประหยัดแรงงานกว่าการกำจัดวัชพืชด้วยมือ

การใส่ปุ๋ย: 
ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนแบบนาผักบุ้งที่สามารถหาปุ๋ยคอกมาใส่แปลงปลูกได้ไม่ยากนัก เช่น ปุ๋ยคอกจากมูลสุกร เป็ด ไก่ วัด ควาย เป็นต้น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยหว่านลงแปลงหลังจากใช้รถแทรกเตอร์ไถดะเตรียมแปลงครั้งแรก พอถึงช่วงการไถครั้งที่ 2 หรือช่วงการคราดดินทำเทือก จะคราดปุ๋ยกลบลงไปในแปลงปลูกผักบุ้งจีนได้ ส่วนปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ย สูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ หว่านรองพื้นก่อนปลูกและเมื่อผักบุ้งจีนมีอายุได้ 60 วัน หรือใกล้ช่วงออกดอกติดผลควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ตัว (เอ็น-พี-เค)โดยการเลือกปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตัวกลางสูง ๆ เช่น 20 – 30 –20 จะช่วยให้ผักบุ้งจีนมีการออกดอกและติดผลได้ดีขึ้น

การจัดเถา: 
เมื่อผักบุ้งจีนเริ่มทอดยอดหลายยอดแล้ว ควรมีการจัดเถาผักบุ้งจนให้เลื้อยคลุมแปลงเต็มพื้นที่ ไม่ควรปล่อยให้ผักบุ้งจีนทอดยอดไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป เพราะยอดหรือเถาผักบุ้งจีนจะทับกันมาก ทำให้เป็นโรคใบจุดหรือเน่าเสียหายได้ง่ายสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนมากขึ้น

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง: 
การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์แบบนาผักบุ้งนั้น จะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 4-5 เดือน ซึ่งช่วงดังกล่าวอาจมีโรคแมลงศัตรูผักบุ้งจีนเข้าทำลายใบ ลำต้น ดอก ผล และเมล็ด ทำให้ผลผลิตต่ำ เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพไม่ด หรือไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ฉะนั้น ผู้ปลูกผักบุ้งจีนในที่ลุ่มจะต้องมีการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนอยู่เสมอ ทั้งในแหล่งปลูกหรือในบริเวณใกล้เคียงออกให้หมดเพื่อป้องกันไม่ให้มีการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างผักบุ้งจีนมีคุณภาพต่ำและมีการกลายพันธุ์ได้ 4-5 เดือน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี จะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ โดยสังเกตจากฝักผักบุ้งจีนจะแห้งมีสีน้ำตาลจำนวนมาก ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของต้นที่ปลูก ก็ให้นำน้ำออกจากแปลง พอดินแห้งดีให้ใช้จอบถากที่โคนต้นหรือจะใช้เคียวเกี่ยวข้าวเกี่ยวที่โคนต้นก็ได้แล้วปล่อยทิ้งไว้ที่แปลง เมื่อผักบุ้งจีนแห้งแล้วนำมานวดด้วยเครื่องนวดและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้เช่นเดียวกับผักบุ้งจีนที่ปลูกในที่ดอน

โรคและแมลงศัตรูของผักบุ้งจีน
การปลูกผักบุ้งจีนนั้น พบว่ามีปัญหาของโรคและแมลงศัตรูไม่น้อยเหมือนกันโรคที่สำคัญของผักบุ้งจีน ได้แก่ โรคราสนิมขาว โรคเน่าคอดิน โรคใบจุด โรครากปม ส่วนแมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ ตั๊กแตน ด้วงเต่าแตง หนอนกระทู้ผักด้วงเจาะฝักและเมล็ดพันธุ์ เพลี้ยอ่อน

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay