เทคนิคการผลิตมะม่วงคุณภาพ

เกณฑ์วัดคุณภาพมะม่วงสด มีดังนี้
1. ขนาดผล 250-500 กรัม/ผล (น้ำดอกไม้)
1.1 การเลือกต้นตอ ใช้พันธุ์ที่ทำให้ต้นปรับตัวต่อลักษณะดินได้ดี เช่น ตลับนาก 
1.2 การจัดทรงพุ่ม/ตัดแต่งกิ่ง 
  1) จัดทรงพุ่มตั้งแต่ต้นเริ่มตั้งตัว
  2) ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวทุกปี ให้โปร่ง ด้วยเลื่อยและกรรไกร
  3) จัดกิ่งที่สมบูรณ์ให้กระจายอย่างสม่ำเสมอ ทุกทิศรอบต้นอย่างสมดุล
  4) ควบคุมทรงพุ่มหลังแต่งกิ่งไม่ให้สูงเกิน 3 เมตร ตลอดชีวิต
  5) เปิดด้านบนทรงพุ่ม รักษาเฉพาะกิ่งมุมกว้าง
  6) เหลือเฉพาะกิ่งขนาดใหญ่พอเหมาะ สำหรับไว้ผลในแต่ละปี
1.3 การให้ปุ๋ย
  1) เลือกเฉพาะแปลงที่มีต้นสมบูรณ์ สำหรับการทำคุณภาพเพื่อการส่งออก
  2) ให้ปุ๋ยฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยวทุกปี
  3) บำรุงต้นให้มีใบและรากสมดุลกัน
  4) ทำให้ทุกใบมีสุขภาพดีก่อนออกดอก
  5) บำรุงผลให้สมบูรณ์ก่อนการห่อผล
  6) ให้ปุ๋ยตามความต้องการพืชเพื่อรสชาติที่ดี
1.4 การให้น้ำ
  1) มะม่วงเป็นพืชกึ่งทนแล้ง พื้นที่แห้งแล้ง เขตเงาฝน ที่ดอกและมีแสงแดดจัด เป็นผลดีต่อการทำสวนมะม่วง
  2) น้ำ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการทำผลผลิตตามเป้าหมาย
  3) พืชใช้น้ำมาก เฉพาะในระยะการพัฒนาใบและผลอ่อน
  4) ความชื้นที่สูงต่อเนื่อง ในดิน และในทรงพุ่ม ก่อปัญหาศัตรูพืช
  5) ควรนำระบบใช้น้ำน้อยมาปฏิบัติ
1.5 การปลิดผล/ห่อผล
  1) จำนวนและการกระจายผลมีอิทธิพลต่อขนาดผล
ปลิดให้เหลือ 1 ผล/ช่อ
กระจายการไว้ผลต่อต้นให้พอดี
  2) การห่อผลในระยะพอเหมาะมีส่วนขยายขนาดผล
ห่อผลในระยะประมาณ 7 เซนติเมตร
1.6 การคัดขนาดผล
  1) คัดเฉพาะที่ได้ขนาดตามเกณฑ์ตลาดส่งออก
  2) นำส่วนที่เหลือ ส่งตลาดภายใน (ไม่ควรมองข้ามตลาดภายใน)
1.7 ขนาดของผลมะม่วงสำหรับตลาดญี่ปุ่น(น้ำดอกไม้)
ขนาด S น้ำหนัก 250-279 กรัม/ผล
ขนาด M น้ำหนัก 280-329 กรัม/ผล
ขนาด L น้ำหนัก 330-379 กรัม/ผล
ขนาด LL น้ำหนัก 380-449 กรัม/ผล
ขนาด LLL น้ำหนัก 450 ขึ้นไป กรัม/ผล
ขนาดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทส่งออก

2. สีผล สีสวยงามตามพันธุ์
2.1 การตัดแต่งกิ่ง 
  1) รักษาทรงพุ่มให้โปร่ง คือให้มีแสงเข้าถึงโคนต้นและมีอากาศถ่ายเทได้ดี
  2) จัดให้มีระยะห่างระหว่างกิ่งพอเหมาะ
  3) ปลิดใบแก่เพิ่มการรับแสงของผล ระยะใกล้เก็บเกี่ยว เพื่อสร้างสีโดยเฉพาะในพันธุ์ มหาชนก
2.2 การห่อผล
  1) ใช้วัสดุห่อผลที่เหมาสม ได้แก ถุงคาร์บอน (น้ำดอกไม้) ถุงรีเมย์(มหาชนก)
  2) วัสดุห่อผลที่มีคุณภาพ (กระดาษห่อผลที่มีคุณภาพ (กระดาษคาร์บอน 2 ชั้น หนาสม่ำเสมอ)
2.3 การเก็บเกี่ยว
  1) เก็บเกี่ยวเมื่อแก่ เชิงการค้า 100-115 วัน หลังออกดอก เพื่อความแม่นยำต้องอ้างอิงข้อมูลในพื้นที่ของตนเอง
2.4 การคัดผล
  1) คัดผลที่มีสีสม่ำเสมอ
  2) คัดผลที่ไม่มีคราบเปื้อน
  3) ทำความสะอาดผลเท่าที่จำเป็น

3. ความสวยงามของผล รูปทรงสมบูรณ์,ผิวไม่มีตำหนิ
3.1 การใช้สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์
  1) ใช้ในระยะเหมาะสม เพื่อป้องกันโรคและแมลงที่สำคัญ เช่น เพลี้ยไฟ ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง โรคแอนแทรกโนส
  2) ใช้สินค้าของบริษัทที่เชื่อถือได้
3.2 การห่อผล/ปลิดผล
  1) ปลิดผลที่ด้อยคุณภาพออกให้เหลือ 1 ผล/ช่อ ก่อนห่อ
  2) ใช้ถุงห่อที่วัสดุมีคุณภาพ
  3) ห่อผลให้มิดชิด
  4) ห่อผลแยกตามรุ่น
  5) ตรวจตราหลังการห่อผล
3.3 การเก็บเกี่ยว
  1) เก็บผลพร้อมก้านช่อผล
  2) ใช้กรรไกรเก็บเกี่ยว
  3) เก็บเกี่ยวด้วยความประณีต
  4) จัดวางผลอย่างนุ่มนวล
  5) บรรจุลงภาชนะในปริมาณที่พอดี
3.4 การขนส่งในสวน
  1) จัดเรียงภาชนะบรรจุไม่ให้มีการกดทับผลผลิต
  2) จัดทำเส้นทางคมนาคมในสวนให้ราบเรียบ เพื่อลดการบอบช้ำของผลผลิต
  3) มีถนนดีถึงหน้าสวน
3.5 การขนส่งสู่ตลาด
  1) กำหนดเส้นทางจากสวนสู่ผู้ส่งออก คือ ใช้เวลาให้สั้นที่สุด
  2) การเลือกภาชนะบรรจุที่เหมาะสม
  3) การจัดเรียงผลผลิตในภาชนะบรรจุอย่างประณีต พร้อมวัสดุกันกระแทก
  4) การขนส่งในเวลาที่เหมาะสม คือ กลางคืน หรือใช้รถเย็น (รถควบคุมอุรหภูมิ)
3.6 การคัดผล
  1) แกะถุงออก ตัดก้านให้เหลือสั้นประมาณ 1 นิ้ว
  2) คัดแยกผลที่มีตำหนิออก
  3) ใช้แรงงานที่มีทักษะจากส่วนกลาง
  4) จัดระบบให้สามารถคัดบรรจุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5) จัดระบบให้สามารถคัดบรรจุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6) รักษาโรงคัดบรรจุให้สะอาด

4. การสุกแก่/รสชาติ สุก,หวานสม่ำเสมอ ( > 17๐บริกซ์)
4.1 ดัชนีการเก็บเกี่ยว/แยกรุ่น
  1) เก็บผลผลิตตามดัชนีการเก็บเกี่ยว คือ นับอายุหลังดอกบาน 50 %
  2) ควรมีข้อมูลสนับสนุนดัชนีเก็บเกี่ยวในพื้นที่ของตนเอง
  3) เก็บเกี่ยวแยกตามรุ่น
  4) เก็บเกี่ยวพร้อมถุง
  5) เก็บเกี่ยวพร้อมก้านช่อ
4.2 การใช้ปุ๋ย
  1) มีการให้ปุ๋ยตามต้องการของพืช
2) มีข้อมูลสนับสนุนการให้ปุ๋ยในพื้นที่ของตนเอง
4.3 การบ่ม
  1) การบ่มโดยใช้ถ่านแก๊ส ควรระมัดระวังความเป็นพิษต่อผู้ปฏิบัติงาน

5. การปลอดจากศัตรูพืช ไม่พบ โรค แมลง และวัชพืช
5.1 การตัดแต่งกิ่ง
5.2 การดูแลพื้นสวนและบริเวณโดยรอบ หญ้าสั้นและดินมีชีวิต
5.3 การใช้สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ในระยะสำคัญ
5.4 การห่อผล
5.5 การคัดบรรจุ

6. ความปลอดภัยจากสารพิษ พบไม่เกินค่า MRL ที่กำหนด
6.1 การใช้สารฆ่าศัตรูพืชที่ปลอดภัย
  1) ใช้ตาม Thai GAP
  2) ใช้ตาม Japan GAP
  3) ใช้ตาม Eurep GAP
6.2 การดูแลแหล่งน้ำ
  1) มีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง
  2) รักษาแหล่งน้ำให้สะอาดปลอดภัยจากสารพิษ
6.3 การคัดบรรจุ
  1) ใช้วัสดุกันกระแทกที่ปลอดภัย
  2) การใช้กล่องที่ปลอดภัย

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ คณะเกษตรศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

เรียบเรียงโดย นางสาวฐิติมา กลางจิตร์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3 สำนักงานเกษตรอำเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay