เทคโนโลยีการปรับปรุงสภาพการผลิตมะม่วง
มะม่วงเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย แต่การผลิตเพื่อส่งออกไม่ใช่เรื่องง่ายที่เกษตรกรจะทำได้สำเร็จทุกรายไป เพราะสภาพแวดล้อมทางอุณหภูมิอากาศ ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีผลกระทบการติดดอกออกผลของมะม่วง
อาจารย์ศิลปชัย ตระกูลทิพย์ อดีตข้าราชการครู ซึ่งปัจจุบันหันมาทำการเกษตรเต็มตัว โดยปลูกมะม่วงเพื่อส่งออกในเขตอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะม่วงที่ขึ้นชื่อในเขตภาคเหนือตอนล่าง และอาจารย์ศิลปชัย ประธานชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง ก็ยังเป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวน ระดับจังหวัดพิษณุโลก ปี 2549 อีกด้วย ซึ่งอาจารย์ศิลปชัยได้ให้คำแนะนำการใช้เทคโนโลยีการปรับปรุงสภาพการผลิตมะม่วง ไว้ดังนี้
1. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว
2. ใส่ปุ๋ยทันทีหลังการตัดแต่งกิ่งและทำความสะอาดแปลงเรียบร้อยแล้ว
2.1 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยบำรุงดินทำให้ดินมีสภาพดี
2.2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพราะมีธาตุอาหารครบ ละลายน้ำง่าย มะม่วงสามารถนำไปใช้ได้ทันที
3. หลังการตัดแต่งกิ่งและทำการใส่ปุ๋ยเรียบร้อยแล้ว ต้องให้น้ำทันที เพื่อให้มะม่วงได้รับธาตุอาหารรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ต้นมะม่วงมีการแตกใบอ่อนได้ทันที
4. ดูแลรักษาต้นมะม่วงช่วงแตกใบอ่อน เพื่อป้องกันโรคและแมลงที่เข้ามาทำลายยอด ใบอ่อน ซึ่งจะทำให้ใบอ่อนแคระแกรน โดยใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น
5. ขาดสารแพคโคบิวทราโซล เพื่อยับยั้งการแตกใบอ่อน
6. ใส่ปุ๋ย ทางดินที่มีโพแทสเซียม เช่น 8-24-24 หรือ 8-16-24 เพื่อให้มะม่วงทำการสร้างหารสะสม เพื่อชะลอการแตกใบอ่อน และทางใบใช้ปุ๋ยที่มีฟอสเฟตสูง เช่น 0-52-34 หรือ 10-52-17 ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดินมีความชื้นมะม่วงจะได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่
7. หลังจากราดสารแพคโคบิวทราโซล 40-60 วัน กระตุ้นการออกดอกด้วย ปุ๋ยทางใบสูตร 13-0-46 อัตรา 5 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
8. เตรียมแมลงเพื่อช่วยผสมเกสร
9. ดูแล ป้องกันและบำรุงรักษาตั้งแต่ช่อดอกเริ่มแทง จนถึงช่อดอกยืดตัวสุด จะใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน ระยะดอกบานไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีชนิดใดๆ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ช่อดอกยืดจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน
10. ดูแล ป้องกันและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ติดผลจนกระทั่งก่อนเก็บเกี่ยว
11. ห่อผลเมื่อผลมีอายุ 40-60 วัน เพื่อป้องกันโรคและแมลงเข้าทำลาย ช่วยทำให้ผลมีสีผิวสวย และมีคุณภาพดี
12. มะม่วงน้ำดอกไม้จะเก็บเกี่ยวได้โดยนับอายุหลังจากดอกบาน 50% จนถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 วัน หรือทดลองนำผลไปลอยน้ำ ถ้ามะม่วงแก่จะจม
13. การเก็บเกี่ยว
- สำหรับมะม่วงที่มีผลอยู่ต่ำ ควรใช้มือปลิดขั้ว หากอยู่สูงควรใช้บันไดร่วมกับกรรไกรชนิดหนีบขั้ว หรือใช้ตะกร้อแบบมีใบมีดตัด มีถุงตาข่าย
- หลังจากเก็บผลจากต้นแล้วนำมาวางเรียงในตะกร้าพลาสติก ควรเรียงให้ขั้วผลไปทางเดียวกัน
- ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ควรเก็บในช่วงสายๆ จนกระทั่งบ่าย เพราะช่วงดังกล่าวมะม่วงจะมียางไหลออกมาน้อย
- เพื่อป้องกันไม่ให้มะม่วงยางไหลขณะเก็บเกี่ยว ควรต้องมีการตัดขั้วขาวไม่น้อยกว่า 1-2 นิ้ว
14. คัดเลือกคุณภาพ ทำความสะอาดผลมะม่วง ส่งโรงคัดเพื่อคัดขนาดต่อไป
เรียบเรียงโดย นางสาวฐิติมา กลางจิตร์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3 สำนักงานเกษตรอำเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก
อาจารย์ศิลปชัย ตระกูลทิพย์ อดีตข้าราชการครู ซึ่งปัจจุบันหันมาทำการเกษตรเต็มตัว โดยปลูกมะม่วงเพื่อส่งออกในเขตอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะม่วงที่ขึ้นชื่อในเขตภาคเหนือตอนล่าง และอาจารย์ศิลปชัย ประธานชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง ก็ยังเป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวน ระดับจังหวัดพิษณุโลก ปี 2549 อีกด้วย ซึ่งอาจารย์ศิลปชัยได้ให้คำแนะนำการใช้เทคโนโลยีการปรับปรุงสภาพการผลิตมะม่วง ไว้ดังนี้
1. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว
2. ใส่ปุ๋ยทันทีหลังการตัดแต่งกิ่งและทำความสะอาดแปลงเรียบร้อยแล้ว
2.1 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยบำรุงดินทำให้ดินมีสภาพดี
2.2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพราะมีธาตุอาหารครบ ละลายน้ำง่าย มะม่วงสามารถนำไปใช้ได้ทันที
3. หลังการตัดแต่งกิ่งและทำการใส่ปุ๋ยเรียบร้อยแล้ว ต้องให้น้ำทันที เพื่อให้มะม่วงได้รับธาตุอาหารรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ต้นมะม่วงมีการแตกใบอ่อนได้ทันที
4. ดูแลรักษาต้นมะม่วงช่วงแตกใบอ่อน เพื่อป้องกันโรคและแมลงที่เข้ามาทำลายยอด ใบอ่อน ซึ่งจะทำให้ใบอ่อนแคระแกรน โดยใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น
5. ขาดสารแพคโคบิวทราโซล เพื่อยับยั้งการแตกใบอ่อน
6. ใส่ปุ๋ย ทางดินที่มีโพแทสเซียม เช่น 8-24-24 หรือ 8-16-24 เพื่อให้มะม่วงทำการสร้างหารสะสม เพื่อชะลอการแตกใบอ่อน และทางใบใช้ปุ๋ยที่มีฟอสเฟตสูง เช่น 0-52-34 หรือ 10-52-17 ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดินมีความชื้นมะม่วงจะได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่
7. หลังจากราดสารแพคโคบิวทราโซล 40-60 วัน กระตุ้นการออกดอกด้วย ปุ๋ยทางใบสูตร 13-0-46 อัตรา 5 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
8. เตรียมแมลงเพื่อช่วยผสมเกสร
9. ดูแล ป้องกันและบำรุงรักษาตั้งแต่ช่อดอกเริ่มแทง จนถึงช่อดอกยืดตัวสุด จะใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน ระยะดอกบานไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีชนิดใดๆ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ช่อดอกยืดจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน
10. ดูแล ป้องกันและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ติดผลจนกระทั่งก่อนเก็บเกี่ยว
11. ห่อผลเมื่อผลมีอายุ 40-60 วัน เพื่อป้องกันโรคและแมลงเข้าทำลาย ช่วยทำให้ผลมีสีผิวสวย และมีคุณภาพดี
12. มะม่วงน้ำดอกไม้จะเก็บเกี่ยวได้โดยนับอายุหลังจากดอกบาน 50% จนถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 วัน หรือทดลองนำผลไปลอยน้ำ ถ้ามะม่วงแก่จะจม
13. การเก็บเกี่ยว
- สำหรับมะม่วงที่มีผลอยู่ต่ำ ควรใช้มือปลิดขั้ว หากอยู่สูงควรใช้บันไดร่วมกับกรรไกรชนิดหนีบขั้ว หรือใช้ตะกร้อแบบมีใบมีดตัด มีถุงตาข่าย
- หลังจากเก็บผลจากต้นแล้วนำมาวางเรียงในตะกร้าพลาสติก ควรเรียงให้ขั้วผลไปทางเดียวกัน
- ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ควรเก็บในช่วงสายๆ จนกระทั่งบ่าย เพราะช่วงดังกล่าวมะม่วงจะมียางไหลออกมาน้อย
- เพื่อป้องกันไม่ให้มะม่วงยางไหลขณะเก็บเกี่ยว ควรต้องมีการตัดขั้วขาวไม่น้อยกว่า 1-2 นิ้ว
14. คัดเลือกคุณภาพ ทำความสะอาดผลมะม่วง ส่งโรงคัดเพื่อคัดขนาดต่อไป
เรียบเรียงโดย นางสาวฐิติมา กลางจิตร์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3 สำนักงานเกษตรอำเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง