วานิลลา พืชเครื่องเทศมีกลิ่นหอมในไทยปลูกได้

ถ้าพูดถึงวานิลลาเรามักจะนึกถึงขนม ไอศรีม หรือเครื่องดื่มที่มีรสชาติกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และอินโดนีเซีย มีราคาแพงเป็นอันดับสองรองจากหญ้าฝรั่น (Saffron) และความต้องการทำให้มีการผลิตวานิลลาสังเคราะห์ขึ้นและมีราคาถูกกว่า ถึงสังเคราะห์ได้จากต้นสนในอุตสาหกรรมเืยื่อกระดาษ และพืชที่มีกลิ่นคล้ายสารสังเคราะห์นี้สามารถทำให้เกิิดโรคมะเร็งกับสัตว์ทดลองได้

มูลนิธิโครงการหลวงบอกมาว่าขณะนี้ทางมูลนิธิโครงการฯ โดยการสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ไปทดลองปลูกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่างๆ ได้่ำแก่ ศูนย์พันฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ เพื่อทดลองขยายพันธุ์ให้มากขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้า

วานิลลาเป็นพืชเครื่องเทศที่ฝัก เมื่อบ่มแล้วจะมีกลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกากลางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแม๊กซิโก เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์กล้วยศาสตร์ว่า Vanilla fragrans (salish) Ames ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิด ที่นิยมปลูกคือ แพลนิโฟเลีย สำหรับประเทศไทยนำต้นวานิลลามาจากอินโดนีเซีย จังหวัดจันทบุรี และกระจายไปในพื้นที่ต่างๆ เช่น ที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ สถาบันกลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง วานิลลาขยายพันธุ์ โดยการปักชำ เจริญเติบโตข้ามปี เกาะกับต้นไม้่ใหญ่ ใบใหญ่ปลายเรียวคล้ายหอก ดอกจะเกิดตามจนเขียวอ่อน ออกดอกปีละครั้งช่วง 2 เดือนที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส ถ้ารับแสงหรือร่มมากเกินไปทำให้ฝักสุกแก่ ช้า ใบเหลืองทำให้เกิดโรคพร้อมกัน ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ดอกจะบานในช่วงเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ นักพฤษศาสตร์ เอ็มมอนด์ อัลเบียส ได้คิดค้นและพัฒนาวิธีผสมดอกให้ติดฝักเป็นคนแรกและกลายเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ฝักวานิลลาที่แก่พร้อมเก็บเกี่ยวจะเป็นสีเขียวเข้มจนเหลือง ปลายฝักเมื่อสุกจะแตกออกตามแนวยาวทำให้ได้วานิลลาที่มีคุณภาพ และมีสารประกอบหลักเป็นวานิลลาร้อยละ 1.5-3.5 และสารประกอบอื่นกว่า 150 ชนิด ทำให้เกิดกลิ่นหอมเมื่อฝักสุกและผ่านวิธีการบ่ม วานิลลาในแม๊กซิโกมีสารประกอบนี้อยู่ร้อยละ 1.75 ศรีลังการ้อยละ 1.5 ตาฮิติร้อยละ 1.7 และที่ศูนย์ป่าเมี่ยงมีไม่ต่างจากอินโดนีเซีย คือร้อยละ 2.21 ซึ่งการทำหใ้ได้วานิลลาที่มีคุณภาพ และรสชาติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ดิน อัตราความสุก เมื่อเก็บเกี่ยว และการบ่มซึ่งเริ่มจากการลวกฝักในน้ำร้อนเพื่อทำลายเชื้อ จุลินทรีย์ที่ติดมากับฝัก แล้วนำฝักไปอบเพื่อให้มีกลิ่นหมอ จากนั้น นำไปผึ่งในที่ร่มจนแห้ง และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการบ่มใช้เวลา 5-8 เดือนจนฝักอ่อนนุ่ม มีสีน้ำตาลถึงดำ มีกลิ่นหอมแรง เกิดน้ำมันบริเวณที่ผิว หลังการบ่มจะมัดรวมกันมัดละ 70-100 ฝัก หนักประมาณ 150-500 กรัม แล้วบรรจุกล่องปิดทึบ ในทวีปอเมริกา และยุโรปรับซื้อวานิลลาจำนวนมากและมีการลงทุนผลิตวานิลลา ในทวีปเอฟริกา ปัจจุบันความต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นถึงปีละประมาณ 10 % สำหรับประเทศไทยเกษตรกรหรือผู้สนใจเข้าไปศึกษาหรือหาดูได้ที่โครงการหลวงดังที่กล่่าวถึง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay