การปลูกวานิลลา

พื้นที่ปลูก
ควรลาดเอียงเล็กน้อย น้ำไม่ท่วมขัง ชอบดินค่อนข้างร่วนซุย ระบายน้ำดี มีชั้นอินทรีย์วัตถุหนา การเตรียมกิ่งพันธุ์ 1 ตัดเถาของลำต้นจากต้นแม่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ โดยตัดส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน 20 - 25 เซนติเมตร 2 กิ่งพันธุ์ควรยาวประมาณ 90 - 100 เซนติเมตร ซึ่งจะให้ผลผลิตในเวลา 2 ปี หลังจากปลูก หรืออาจใช้กิ่งพันธุ์ที่มีความยาว 30 เซนติเมตร แต่จะให้ผลผลิตช้าประมาณ 3 - 4 ปี หลังจากปลูก 3 นำกิ่งพันธุ์ที่ได้มาริดใบที่บริเวณ 2 - 3 ข้อล่างออก แล้วนำไปชำในทรายก่อน หรือปลูกลงในแปลงเลยก็ได้

การเตรียมเสาค้าง
อาจใช้ค้างไม้ตายหรือค้างไม้ที่มีชีวิตก็ได้ ควรให้มีความสูงประมาณ 2 - 3 เมตร ค้างไม้มีชีวิตที่นิยม คือ แคฝรั่ง - ควรปลูกพืชร่มเงาและค้างมีชีวิตล่วงหน้าก่อนปลูกวนิลา 1 ปี - ไม่ควรใช้ค้างที่สูงเกินกว่า 2 - 3 เมตร เพราะอาจทำให้ไม่สะดวกในการผสมเกสรหรือเก็บเกี่ยว

การปลูก
1) เตรียมหลุมปลูกขนาด 10 - 15 x 10 - 15เซนติเมตร ปลูกได้ 2 - 3 กิ่ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม
2) ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ถ้าปลูกในบริเวณที่มีลมพัดแรง ใช้ระยะปลูก 1.2 x 2.5 เมตร หรือ 1.5 x 3 เมตร
3) ปลูกใกล้โคนไม้ค้าง ส่วนที่โผล่พ้นผิวดินให้ผูกยึดติดไว้กับหลักโดยใช้เชือกกล้วย
4) ถ้ากิ่งพันธุ์สั้น เมื่อปักชำควรให้ข้อโผล่พ้นผิวดินไม่เกิน 2 ข้อ
5) หลังปลูก 1 เดือน จะมีใบใหม่งอกออกมาที่ยอดกิ่งพันธุ์และเริ่มเกาะกับไม้ค้าง

การดูแลรักษา
1) พรวนดินและกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น พูนโคนเพื่อป้องกันน้ำขัง
2) คลุมดินให้เป็นประจำเพื่อป้องกันรากลอย
3) เมื่อเถายาวพอสมควร จัดเถาให้ไต่ตามค้าง
4) ทำการตัดแต่งทุกปีในช่วงก่อนฤดูออกดอก โดยตัดปลายเถาทิ้งประมาณ 7.5 - 10 เซนติเมตร เพื่อกระตุ้นให้เกิดตาดอกที่มุมใบ และตัดแต่งกิ่งที่แก่ แห้ง และไม่สมบูรณ์ทิ้ง
5) ให้ปุ๋ยคอกปีละครั้ง อัตรา 10 - 20 กิโลกรัม / ปี
6) ให้ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝนและปลายฝน การผสมเกสรดอกวนิลา
7) ใช้เข็มหรือไม้ปลายแหลมกดส่วนลาเบลลัมลงไปจรดฐานดอก
8) ใช้ไม้สอดเข้าไปได้แผ่นโรสเทลลัม ดันแผ่นโรสเทลลัมขึ้นไปจรดฐานอับละอองเรณู จะเห็นยอดเกสรตัวเมียอย่างชัดเจน
9) ประคองอับละอองเรณูไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ของมือซ้าย จับกดลงแตะลงบนยอดเกสรตัวเมีย
10) หลังจากผสมเกสรเสร็จแล้ว ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือซ้ายดึงเอาลาเบลลัมออก

โรคและแมลง
1) โรคเน่าดำ เกิดจากเชื้อราในดิน คือ Phytophthora palmivora เข้าทำลายบริเวณรากอ่อนแล้วลุกลามไปสู่ใบและยอด ทำให้ลำต้นเป็นสีเหลือง จากนั้นเน่าเป็นสีดำ และแห้งตายในที่สุด ป้องกันกำจัดโดยราดด้วยสารเคมีริโดมิน (metalaxy) 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และกันเบิน ( benalaxyl ) 15 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
2) เพลี้ยกระโดด ทำลายใบและยอดวนิลา

การเก็บเกี่ยว
1) เก็บเกี่ยวฝักวนิลาหลังจากออกดอกประมาณ 7 - 9 เดือน
2) เก็บเกี่ยวเมื่อฝักแก่เต็มที่และเริ่มสุก สังเกตจากปลายฝักเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง หรือลักษณะผิวฝักเปลี่ยนจากมันเป็นด้าน
3) เก็บโดยใช้มีตัดหรือมือปลิด
4) ต้นวนิลาจะให้ผลผลิตสูงถึงปีที่ 7 แต่ถ้ามีการดูแลรักษาดีจะให้ผลผลิตมากกว่า 7 ปีขึ้นไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay