เห็ดโคนญี่ปุ่น (Yanagi)

เห็ดโคนญี่ปุ่น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Agrocybe cylindracea เป็นการนำสายพันธุ์เข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น แล้วมาปรับปรุงการเพาะเลี้ยงให้เหมาะสมกับประเทศไทย ทำให้สามารถออกผลผลิตได้เกือบทั้งปี โดยการเพาะเลี้ยงไม่ยุ่งยาก และมีความทนทานกับเชื้อต่างๆที่จะมาทำลายก้อนเชื้อเห็ดขณะที่กำลังออกดอก สูงกว่าเห็ดทุกชนิดที่เพาะเลี้ยงได้ในประเทศไทย

เห็ดโคน
ญี่ปุ่น เป็นเห็ดที่มีคุณค่าในการบริโภคสูง รสชาติและกลิ่นใกล้เคียงกับเห็ดโคนป่าในเมืองไทยมากที่สุด และตลาดในการบริโภค มีความต้องการผลผลิตอีกมากทั้งด้านเห็ดสดและเห็ดที่แปรรูปแล้ว อาทิเช่น ซูเปอร์มาเก็ต, ร้านอาหารทั้งไทยและญี่ปุ่น (ร้านอาหารญี่ปุ่นในปัจจุบันต้องนำเข้า) ทั้งตลาดต่างประเทศก็มีความต้องการสูง เพราะบางประเทศสามารถผลิตได้เฉพาะระยะสั้นๆ

ณ ขณะนี้ ได้มีการเผยแพร่อาชีพและสนับสนุนการเพาะเลียงเห็ด อย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมการรับประทานเห็ด เพราะปลอดสารพิษและมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีความต้องการบริโภคเห็ดต่างๆในปริมาณสูง 

สำหรับคำว่า เห็ดโคนธรรมชาติ ในประเทศไทยยังมีผู้ที่เข้าใจสับสนกันข้อนข้างมาก เคยมีผู้ทดลองเพาะเลี้ยงเห็ดโคนธรรมชาติแล้ว แต่ผลการทดลองยังไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ในท้องตลาดปัจจุบันจึงมีคำว่าเห็ดโคนอยู่ 3 ชนิด คือ 1)เห็ดโคนญี่ปุ่น
 2)เห็ดโคนน้อย 3)เห็ดโคนหลวง  ซึ่งเห็ดทั้ง 3 ชนิดนี้จะมีผู้เรียกสับสนกันอยู่บ่อยๆ เพราะจะนำไปเรียกรวมว่า เห็ดโคน โดยเฉพาะบางสื่อต่างๆที่เคยเผยแพร่มาแล้ว ทำให้ผู้ที่ต้องการจะเริ่มเพาะเลี้ยงเห็ดเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมที่มีรายได้ดีเข้าใจคลาดเคลื่อน

การจำแนกเห็ดทั้ง 3 ชนิด เบื้องต้นมีดังนี้:
  • เห็ดโคนญี่ปุ่น Agrocybe cylindracea เป็นเห็ดที่เพาะเลี้ยงในถุงพลาสติกแบบเห็ดหอมและเห็ดนางฟ้า การทำโรงเรือนหรือวิธีการเลี้ยงก็เป็นแบบเห็ดในถุงพลาสติก ซึ่งความต้องการในธรรมชาติของเห็ดถุงพลาสติกแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป
  • เห็ดโคนน้อย Coprinus Comatus (Ink Cap) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเห็ดถั่วเน่า, เห็ดขี้ฝ้ายหรือเห็ดกากถั่ว เป็นเห็ดที่มีกรรมวิธีในการเพาะเลี้ยงแบบเห็ดฟางโรงเรือน ได้ผลผลิตเร็วแต่มีปัจจัยในการเพาะเลี้ยงที่ยุ่งยากในภายหลัง คุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของเห็ดชนิดนี้คือ ต้องแปรรูปภายใน 24 ชั่วโมง หลังการเก็บดอก เพราะจะเกิดการย่อยสลายของดอกเห็ดเองทำให้เน่าเสีย  (เห็ดชนิดนี้เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานและแพร่หลายตามชนบทในชื่อของ เห็ดถั่วเน่าที่มักจะเกิดตามกองฟาง และการบริโภคยังไม่แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ในชนบท)
  • เห็ดโคนหลวง Hon Shimeji มีข้อจำกัดในการเลี้ยงสูง เนื่องจาก การควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ดชนิดนี้ (15-20 ) ต้องลงทุนค่อนข้างสูง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay