การเพาะเห็ด 2/4 : การคัดเลือกดอกเห็ดและการแยกเนื้อเยื่อ
ในการแยกเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดเพื่อนำไปเพาะบนอาหารวุ้นสำหรับขยายพันธุ์นั้น ต้องคัดเลือกเฉพาะเนื้อเยื่อจากดอกที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของตลาดและให้ผลผลิตสูง โดยทั่งไปให้สังเกตขนาด รูปทรง สี ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศต่างๆ ผลตอบสนองต่อวัสดุที่ใช้เพาะ
วิธีคัดเลือกเห็ดโดยแยกเป็นแต่ละประเภทหรือชนิดของเห็ดดังนี้
1. เห็ดฟาง
1.1 เลือกดอกเห็ดที่มีขนาดพอเหมาะกับความต้องการของตลาดหรือโรงงานอุตสาหกรรม
1.2 เลือกดอกตูมทรงกลมหรือทรงรีไข่ ที่ยังตูมและเห็ดยังไม่กางครีบออกซึ่งเป็นลักษณะที่ควรนำมาทำพันธุ์
1.3 เลือกดอกที่มีสีขาวหรือสีเทา
1.4 เลือกดอกที่เจริญเติบโตได้ดีทุกสภาพแวดล้อม น้ำหนักดี บานช้า ออกดอกเป็นกลุ่ม อยู่อย่างหนาแน่น
2. เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ
2.1 เลือกดอกที่มีก้านสั้น แข็งและเรียวงาม ไม่อวบ
2.2 เลือกดอกที่เปลี่ยนจากสีเข้มเป็นสีอ่อนไปแล้วประมาณ 1 ใน 3 ในขณะที่ขอบดอกยังโค้งงออยู่
3. เห็ดหูหนู
ยังไม่มีมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด
วิธีคัดเลือกเห็ดโดยแยกเป็นแต่ละประเภทหรือชนิดของเห็ดดังนี้
1. เห็ดฟาง
1.1 เลือกดอกเห็ดที่มีขนาดพอเหมาะกับความต้องการของตลาดหรือโรงงานอุตสาหกรรม
1.2 เลือกดอกตูมทรงกลมหรือทรงรีไข่ ที่ยังตูมและเห็ดยังไม่กางครีบออกซึ่งเป็นลักษณะที่ควรนำมาทำพันธุ์
1.3 เลือกดอกที่มีสีขาวหรือสีเทา
1.4 เลือกดอกที่เจริญเติบโตได้ดีทุกสภาพแวดล้อม น้ำหนักดี บานช้า ออกดอกเป็นกลุ่ม อยู่อย่างหนาแน่น
2. เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ
2.1 เลือกดอกที่มีก้านสั้น แข็งและเรียวงาม ไม่อวบ
2.2 เลือกดอกที่เปลี่ยนจากสีเข้มเป็นสีอ่อนไปแล้วประมาณ 1 ใน 3 ในขณะที่ขอบดอกยังโค้งงออยู่
3. เห็ดหูหนู
ยังไม่มีมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด
วิธีการแยกเนื้อเยื่ออกจากดอกเห็ด
อุปกรณ์ที่ใช้
เข็มเขี่ย ประกอบด้วยก้านอลูมิเนียมหรือโลหะที่นำความร้อนไม่ดี ส่วนปลายควรทำจากลวดที่ร้อนเร็วเมื่อลนไฟ และเย็นเร็วเมื่อยกออกจากไฟ
แอลกอฮอล์ 70% ใช้สำหรับเช็ดบริเวณที่จะทำการแยกเชื้อ และฆ่าเชื้อที่ติดมือ
ตู้แยกเชื้อ เป็นตู้ไม้หรือโลหะซึ่งอย่างน้อยด้านหน้าควรเป็นกระจกเพื่อให้สามารถมองเห็นภายในขณะทำงาน มีขนาดพอเหมาะ ปิดสนิท ด้านหน้ามีช่องพอเหมาะ 2 ช่องสำหรับพอเอาแขนสอดเข้าไปได้ และมีช่องเปิดด้านข้างสำหรับลำเลียงวัสดุเข้าออกตู้ได้สะดวก ถ้าไม่มีตู้ จะทำการแยกเชื้อในที่ๆลมสงบหรือในห้องปรับอากาศก็ได้ ก่อนปฏิบัติงานให้ใช้ผ้าเปียกที่สะอาดเช็ดพื้นแล้วปูไว้ในบริเวณที่จะปฏิบัติงานเพื่อให้สปอร์ที่ปลิวว่อนอยู่ในห้องตกลงมาไม่ฟุ้งกระจายต่อไป
วิธีแยกเนื้อเยื่อ
แอลกอฮอล์ 70% ใช้สำหรับเช็ดบริเวณที่จะทำการแยกเชื้อ และฆ่าเชื้อที่ติดมือ
ตู้แยกเชื้อ เป็นตู้ไม้หรือโลหะซึ่งอย่างน้อยด้านหน้าควรเป็นกระจกเพื่อให้สามารถมองเห็นภายในขณะทำงาน มีขนาดพอเหมาะ ปิดสนิท ด้านหน้ามีช่องพอเหมาะ 2 ช่องสำหรับพอเอาแขนสอดเข้าไปได้ และมีช่องเปิดด้านข้างสำหรับลำเลียงวัสดุเข้าออกตู้ได้สะดวก ถ้าไม่มีตู้ จะทำการแยกเชื้อในที่ๆลมสงบหรือในห้องปรับอากาศก็ได้ ก่อนปฏิบัติงานให้ใช้ผ้าเปียกที่สะอาดเช็ดพื้นแล้วปูไว้ในบริเวณที่จะปฏิบัติงานเพื่อให้สปอร์ที่ปลิวว่อนอยู่ในห้องตกลงมาไม่ฟุ้งกระจายต่อไป
วิธีแยกเนื้อเยื่อ
ใช้เล็บหรือมีดฉีกดอกเห็ดเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน ซึ่งถือว่าเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน ซึ่งถือว่าเป็นเนื้อเยื่อบริสุทธิ์ จากนั้นลนเข็มในเปลวไฟจนร้อนแดง จากนั้นรอให้เข็มเย็นลงใช้เวลาประมาณ 15-20 วินาที จึงใช้ปลายเข็มเขี่ยตัดเนื้อเยื่อที่เปิดออกใหม่ (เนื้อเยื่อที่อยู่ตรงส่วนต่อระหว่างก้านและหมวกจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในอาหารวุ้น) ให้ติดมากับปลายเข็มเพียงชิ้นเล็กๆ ในขณะเดียวกันมืออีกข้างหนึ่งให้ถือขวดอาหารวุ้น เปิดจุกสำลี ลนไฟที่ปากขวด ใส่ชิ้นเนื้อเยื่อเห็ดลงไป ลนไฟที่ปากขวดอุดสำลีไว้ตามเดิม เก็บขวดนี้ไว้ในห้องมืด ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะกับการเจริญของเชื้อเห็ด เช่นเห็ดฟาง ประมาณ 34-38 องศาเซลเซียส เห็ดหูหนู เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ ประมาณ 25-32 องศาเซลเซียส เห็ดหอม เห็ดแชมปิยอง ประมาณ 24-28 องศาเซลเซียส
ระยะเวลาที่เส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารวุ้น ขึ้นอยู่กับชนิดของเห้ดเช่นกัน เห็ดฟางใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน เห็ดหูหนู เห็ดนางรม 12-14 วัน เห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดแชมปิยอง ประมาณ 25-30 วัน
เมื่อเส้นใยเห็ดเดินจนเต็มอาหารวุ้นแล้ว สามารถต่อเชื้อบนอาหารวุ้นได้อีก
ระยะเวลาที่เส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารวุ้น ขึ้นอยู่กับชนิดของเห้ดเช่นกัน เห็ดฟางใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน เห็ดหูหนู เห็ดนางรม 12-14 วัน เห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดแชมปิยอง ประมาณ 25-30 วัน
เมื่อเส้นใยเห็ดเดินจนเต็มอาหารวุ้นแล้ว สามารถต่อเชื้อบนอาหารวุ้นได้อีก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง