คำถามคำตอบเกี่ยวกับมะละกอ

A: ทำพันธุ์มะละกอให้ปลอดโรคจุดวงแหวนทำอย่างไร? ใครทราบหรือมีแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกรุณาบอกด้วย

Q: 1. ใช้วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้กับมะละกอ โดยการให้วัคซีนกับต้นมะละกอ เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งวัคซีนก็คือเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค แต่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด โดยทาเชื้อวัคซีนลงบนใบของต้นกล้าที่เลี้ยงไว้ในโรงเรือนป้องกันแมลงหลังจากทาแล้ว 3 - 4 สัปดาห์ จึงนำออกไปปลูกได้
2. โดยการใช้พันธุ์ที่มีความทนทานต่อโรคที่มีแหล่งพันธุ์จากรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เช่นพันธุ์ Florida Tolerance หรือ Clariflora ผสมกับแขกดำ แขกนวล ลูกออกมาจะสามารถเก็บเมล็ดไปปลูกเป็นพันธุ์ต้านทานได้
3. ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม (การตัดต่อยีน หรือที่เรียกกันติดปากว่า GMO ในปัจจุบัน) แต่ตัวพันธุ์นี้ยังมีปัญหาเรื่องตลาดส่งออก เพราะหลายประเทศยังกีดกันอยู่ แต่ทราบว่าประเทศญี่ปุ่นกำลังสนับสนุนไต้หวันให้ดำเนินการ

--------------------

A: ปลูกมะละกอไว้ในสนามหน้าบ้านลำต้นใหญ่สมบูรณ์ดีมากและออกลูกดก แต่ว่าลูกไม่โต ได้ให้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ประมาณ2 อาทิตย์ครั้ง มีบางลูกโต แต่ส่วนใหญ่เล็ก จะทำอย่างไรให้ได้ผลใหญ่

Q: ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 หรือ 10-52-17 ผสมร่วมกับปุ๋ยน้ำอินทรีย์ชีวภาพ และปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เช่น มูลค้างคาว หรือมูลไก่อัดเม็ด

--------------------

A: มะละกอแบบไหนที่เหมาะกับการปลูก และปลูกได้ง่าย

Q: ความปลูกง่าย/ปลูกยากของมะละกอแต่ละพันธุ์ไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับการเลือกพื้นที่ปลูกและการเลือกใช้พันธุ์ให้สอดคล้องกับสถาพพื้นที่ โดยพื้นที่ใดมีการระบายของโรคใบด่างอยู่บ้างควรเลือกใช้พันธุ์มะละกอที่มีความทนทานต่อโรคดังกล่าว เช่น พันธุ์ปากช่อง 1 หรือพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ปลอดโรคใบด่างควรปลูกพันธุ์ที่ตลาดต้องการมาก เช่น แขกดำ ปักไม้ลาย เรดเลดี้ หรือ แขกนวล เป็นต้น

--------------------

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay