โรคขี้กลาก (หรือโรคแคงเกอร์) ในมะนาว

อาการผลมีแผลตกสะเก็ดของมะนาวเรียกว่า โรคขี้กลาก ภาษาทางวิชาการเรียกว่า โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โรคชนิดนี้แพร่ระบาดได้ด้วยไหลไปกับน้ำฝนและน้ำค้างหรือการนำกิ่งพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรคระบาด การระบาดจะรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่ออยู่สภาพที่มีความชื้นในบรรยากาศสูง อุณหภูมิระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส โรคแคงเกอร์ที่เกิดขึ้นที่ใบ พบว่า เริ่มมีจุดขนาดเล็กที่ผิวผลส้มขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สีใสฉ่ำน้ำ ใบมีสีเข้ม ต่อมาจุดจะขยายใหญ่ขึ้น ฟูคล้ายฟองน้ำ สีเหลืองอ่อน อาจเกิดเป็นที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือกระจายทั่วทั้งผลก็ได้ ต่อมาแผลจะนูนขึ้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ฟูและแตก เป็นสะเก็ดขรุขระและแข็ง ส่วนตอนกลางของแผลจะยุบตัวลงเล็กน้อยที่ขอบแผลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ ขนาดของแผลจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้านทานของมะนาวแต่ละพันธุ์

โรคแคงเกอร์เกิดที่กิ่งและก้านมะนาว การระบาดมักเกิดขึ้นที่กิ่งอ่อน เริ่มมีจุดขนาดเล็กเกิดขึ้น ต่อมาแผลจะฟูลักษณะเช่นเดียวกับเกิดที่ใบ แต่รูปร่างแผลไม่แน่นอนและมีปุ่มปมขนาดใหญ่และไม่มีขอบ อาการที่เกิดกับผลมะนาว เกิดเป็นแผลกลม คล้ายกับรอยแผลที่ใบ แผลจะนูนและโปร่งคล้ายฟองน้ำสีเหลืองแข็งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในเวลาต่อมา ทำให้ผลไม่สวยงาม น้ำมะนาวก็จะน้อยลงจนขายไม่ได้ราคา

วิธีป้องกันกำจัดโรคขี้กลาก (หรือโรคแคงเกอร์)

ไม่ควรนำกิ่งพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคแคงเกอร์ระบาด ปลูกพืชกันลมป้องกันลมพัดแรงทำให้กิ่งก้านและใบเสียดสีกันจนเกิดแผล ส่งผลให้เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งไป เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซินที่มีชื่อการค้าว่า แอกริมัยซิน หรือแคงเกอร์เอกซ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามอัตราแนะนำข้างฉลาก การควบคุมโรคอย่างเป็นระบบดังกล่าว การระบาดของโรคแคงเกอร์จะหมดไปในที่สุด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay