การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์
เป็นวิธีการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดในทุกขั้นตอนการผลิตและระหว่างการเก็บ รักษาผลผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโตสารควบคุมและกำจัดวัชพืชการป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้างในโรงเก็บการผลิตข้าวอินทรีย์
นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนอีกด้วย การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องธรรมชาติเป็นสำคัญได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลทางธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการปลูกพืชหมุนเวียน การให้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ในไร่นา หรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว โดยวิธีการผสมผสานแต่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ การรักษาสมดุลของศัตรู การจัดการพืช ดินและน้ำให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าวเพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสถาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวเป็นต้น
การปฏิบัติเช่นนี้สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงอยู่ในระดับที่น่าพอใจได้ เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์มีขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกับการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป จะแตกต่างกันตรงที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ดังนั้น เพื่อให้การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ได้รับผลดีจึงต้องมีขั้นตอนที่ควรปฏิบัติเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ดังนี้
1. การเลือกพื้นที่ปลูก เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติสูงประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานหรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และอยู่ห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมี
3. การเตรียมดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป
4. วิธีการปลูก แนะนำให้ใช้วิธีตกกล้าและปักดำ เช่นเดียวกับการตกกล้าเพื่อปลูกข้าวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป แต่ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด ปักดำโดยใช้กล้าอายุประมาณ 30 วัน ที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย เนื่องจากการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไปเล็กน้อยคือประมาณ 20 x 20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 5 ตันต่อกอ และควรเพิ่มระยะปลูกให้แคบลงกว่านี้หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ สำหรับปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานควรเปลี่ยนวิธีปลูกเป็นแบบหว่านน้ำตมตามคำแนะนำ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 15-20 กิโลกรัมต่อไร่
5. การจัดการเก็บเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์จึงควรเริ่มต้นด้วยการเลือกพื้นที่ปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง ตามธรรมชาติเพื่อรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้เกษตรกรต้องจัดการและพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ให้ได้ผลดี และยั่งยืนมากที่สุดอีกด้วย
คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของดิน สำหรับการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการใช้วัสดุอินทรีย์บางชนิดทดแทนปุ๋ยเคมี
- การจัดการดิน การจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ควรปฏิบัติดังนี้
1) ไม่เผาตอซังฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนาเพราะเป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ และจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์
2) นอกจากไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์ โดยตรงออกไปจากแปลงนาแล้ว ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงมาใส่เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอถึงแม้จะเป็นไปแบบทีละเล็กละน้อยก็ตาม
3) เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วบนคันนาหรือที่ว่างในพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วนำอินทรีย์วัตถุที่เกิดขึ้นในระบบไร่นาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปลูก
4) ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกข้าว และหลังการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ควรปลูกพืชคลุมดิน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน เป็นต้น
5) ป้องกันการสูญเสียหน้าดินเนื่องจากการชะล้าง โดยใช้วัสดุคลุมดินลดการไถพรวนหรือการไถพรวนอย่างถูกวิธี
6) ควรวิเคราะห์ดินนาทุกปี แล้วแก้ไขภาวะความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าว (ประมาณ 5.5 - 6.5) ถ้าพบว่าดินมีความเป็นกรดลงแนะนำให้ใช้ปูนมาร์ล ปูนขาว และขี้เถ้าไม้ปรับปรุงสภาพดิน
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยสังเคราะห์ทุกชนิด และพยายามหาปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติมาใช้อย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ จึงอาจมีไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรย์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่สูงมาก และถ้าหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมด้วยแล้ว ก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตและทำให้การเจริญเติบโตของต้นข้าวไม่ดีเท่าที่ควร ได้รับผลผลิตต่ำ จึงแนะนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า "สร้างให้เกิดในพื้นที่ ใช้ทีละเล็กละน้อย สม่ำเสมอ เป็นประจำ" ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้ได้แก่
- ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งอาจนำมาจากภายนอก แต่ควรจัดการผลิตขึ้นในบริเวณไร่นา
- ปุ๋ยหมัก ควรจัดทำให้พื้นที่นาหรืออยู่ไม่ห่างจากแปลงนามากนัก เพื่อความสะดวกในการใช้ ควรใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่งในการทำปุ๋ยหมัก และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร
- ปุ๋ยพืชสด ควรเลือกปุ๋ยพืชสดชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมปลูกก่อนการปักดำข้าวในระยะเวลาพอสมควร โดยใช้ต้นปุ๋ยพืชสดมีช่วงการเจริญเติบโตพอเพียงจะผลิตมวลพืชสดได้มากและมีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนในขณะที่ไถกลบสูง เช่น โสนอัฟริกัน (Sesbania rostrata) แนะนำให้ปลูกก่อนการปักดำข้าวประมาณ 70 วัน โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 6 กิโลกรัมต่อไร่ หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วยเร่งการเจริญเติบโต แนะให้ใช้หินฟอสเฟตบดละเอียดใส่ตอนเตรียมดินปลูก แล้วไถกลบขณะเมื่อมีอายุประมาณ 50-55 วัน หรือก่อนปักดำข้าวประมาณ 15 วัน
- การใช้อินทรีย์วัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี หากปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดความอุดมสมบูรณ์ของดินข้างต้นแล้ว ยังพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอหรือขาดธาตุอาหารที่สำคัญบางชนิดไปสามารถนำอินทรีย์วัตถุจากธรรมชาติต่อไปนี้มาใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีบางชนิดได้อย่างเหมาะสมคือ - แหล่งธาตุไนโตรเจน ได้จากแหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ด สะเดา เลือดสัตว์แห้ง และกระดูกป่น เป็นต้น
- แหล่งธาตุฟอสฟอรัส ได้จากหินฟอสเฟตกระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว การเมล็ดพืช ขี้เถ้าไม้ และสาหร่ายทะเล เป็นต้น - แหล่งธาตุโพแตสเซี่ยม ได้จากขี้เถ้า และหินปูนบางชนิด เป็นต้น
- แหล่งธาตุแคลเซี่ยม ได้จากปูนขาว โดโลไมท์เปลือกหอยป่นและกระดูกป่น เป็นต้น
6. ระบบการปลูกพืช เนื่องจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ปลูกได้เพียงปีละครั้ง จึงสามารถปลูกพืชเสริมโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วก่อนและหลังการปลูกข้าวโดยเลือกช่วงเวลาปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ร่วมกับพืชตระกูลถั่วก็ได้ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม
7. การควบคุมวัชพืช หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด แนะนำให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธี การร่วมกับการเขตกรรม เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีเขตกรรม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น
8. การป้องกันจำกัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว หลักการสำคัญของการป้องกันและกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ มีดังนี้
- ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการป้องกันกำจัดโรคแมลง และศัตรูข้าวทุกชนิด
- การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลง การกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม การใช้อัตราและระยะปลูกที่เหมาะสม การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสมดุลของธาตุอาหารพืช การจัดการพืชดิน และน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าวระยะต่าง ๆ เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ และแข็งแรงดี สามารถลดการทำลายของโรคและแมลงศัตรูข้าวได้
- การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เช่น การกำจัดวัชพืช การกำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาว และกำมะถันผงที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี
- การรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ และส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของตัวห้ำตัวเบียน และศัตรูธรรมชาติ เพื่อช่วยควบคุมปริมาณแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว
- การปลูกพืชขับไล่แมลงบนค้นนา เช่น ตะไคร้หอม
- หากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ตะไคร้หอม และใบแคฝรั่ง เป็นต้น โดยผสมน้ำฉีดพ่น
- ใช้วิธีกล เช่น ใช้แสงไฟล่อและใช้กับดัก
- ในกรณีที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดควรกระทำโดยทางอ้อม เช่นนำไปผสมกับเหยื่อล่อในกับดักแมลงหรือใช้เหยื่อพิษกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว ซึ่งจะต้องใช้อย่างระมัดระวังและกำจัดสารเคมีที่เหลือ รวมถึงศัตรูข้าวที่ถูกทำลายโดยเหยื่อพิษอย่างถูกวิธีหลังจากปฏิบัติเสร็จแล้ว
9. การจัดการน้ำ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการจัดการน้ำเพื่อปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป
10. การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป 11. การเก็บรักษาผลผลิต ลดความชื้นเมล็ดข้าวให้เหลือประมาณ 14% และเก็บรักษาด้วยวิธีจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น เก็บในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ใช้ภาชนะที่มิดชิด หรืออาจใช้เทคนิคการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการเก็บรักษา
นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนอีกด้วย การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องธรรมชาติเป็นสำคัญได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลทางธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการปลูกพืชหมุนเวียน การให้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ในไร่นา หรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว โดยวิธีการผสมผสานแต่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ การรักษาสมดุลของศัตรู การจัดการพืช ดินและน้ำให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าวเพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสถาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวเป็นต้น
การปฏิบัติเช่นนี้สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงอยู่ในระดับที่น่าพอใจได้ เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์มีขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกับการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป จะแตกต่างกันตรงที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ดังนั้น เพื่อให้การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ได้รับผลดีจึงต้องมีขั้นตอนที่ควรปฏิบัติเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ดังนี้
1. การเลือกพื้นที่ปลูก เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติสูงประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานหรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และอยู่ห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมี
2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ใช้เมล็ดข้าวดอกมะลิ 105 ที่ได้มาตรฐาน มีความงอกสูง ผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ปราศจากแมลงและเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดกับเมล็ดพันธุ์ อนุโลมให้นำไปแช่ในสารละลายจุนสี (จุนสี 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลานานประมาณ 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก
3. การเตรียมดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป
4. วิธีการปลูก แนะนำให้ใช้วิธีตกกล้าและปักดำ เช่นเดียวกับการตกกล้าเพื่อปลูกข้าวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป แต่ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด ปักดำโดยใช้กล้าอายุประมาณ 30 วัน ที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย เนื่องจากการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไปเล็กน้อยคือประมาณ 20 x 20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 5 ตันต่อกอ และควรเพิ่มระยะปลูกให้แคบลงกว่านี้หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ สำหรับปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานควรเปลี่ยนวิธีปลูกเป็นแบบหว่านน้ำตมตามคำแนะนำ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 15-20 กิโลกรัมต่อไร่
5. การจัดการเก็บเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์จึงควรเริ่มต้นด้วยการเลือกพื้นที่ปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง ตามธรรมชาติเพื่อรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้เกษตรกรต้องจัดการและพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ให้ได้ผลดี และยั่งยืนมากที่สุดอีกด้วย
คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของดิน สำหรับการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการใช้วัสดุอินทรีย์บางชนิดทดแทนปุ๋ยเคมี
- การจัดการดิน การจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ ควรปฏิบัติดังนี้
1) ไม่เผาตอซังฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนาเพราะเป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ และจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์
2) นอกจากไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์ โดยตรงออกไปจากแปลงนาแล้ว ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงมาใส่เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอถึงแม้จะเป็นไปแบบทีละเล็กละน้อยก็ตาม
3) เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วบนคันนาหรือที่ว่างในพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วนำอินทรีย์วัตถุที่เกิดขึ้นในระบบไร่นาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปลูก
4) ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกข้าว และหลังการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ควรปลูกพืชคลุมดิน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน เป็นต้น
5) ป้องกันการสูญเสียหน้าดินเนื่องจากการชะล้าง โดยใช้วัสดุคลุมดินลดการไถพรวนหรือการไถพรวนอย่างถูกวิธี
6) ควรวิเคราะห์ดินนาทุกปี แล้วแก้ไขภาวะความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าว (ประมาณ 5.5 - 6.5) ถ้าพบว่าดินมีความเป็นกรดลงแนะนำให้ใช้ปูนมาร์ล ปูนขาว และขี้เถ้าไม้ปรับปรุงสภาพดิน
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยสังเคราะห์ทุกชนิด และพยายามหาปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติมาใช้อย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ จึงอาจมีไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรย์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่สูงมาก และถ้าหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมด้วยแล้ว ก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตและทำให้การเจริญเติบโตของต้นข้าวไม่ดีเท่าที่ควร ได้รับผลผลิตต่ำ จึงแนะนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า "สร้างให้เกิดในพื้นที่ ใช้ทีละเล็กละน้อย สม่ำเสมอ เป็นประจำ" ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้ได้แก่
- ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งอาจนำมาจากภายนอก แต่ควรจัดการผลิตขึ้นในบริเวณไร่นา
- ปุ๋ยหมัก ควรจัดทำให้พื้นที่นาหรืออยู่ไม่ห่างจากแปลงนามากนัก เพื่อความสะดวกในการใช้ ควรใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่งในการทำปุ๋ยหมัก และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร
- ปุ๋ยพืชสด ควรเลือกปุ๋ยพืชสดชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมปลูกก่อนการปักดำข้าวในระยะเวลาพอสมควร โดยใช้ต้นปุ๋ยพืชสดมีช่วงการเจริญเติบโตพอเพียงจะผลิตมวลพืชสดได้มากและมีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนในขณะที่ไถกลบสูง เช่น โสนอัฟริกัน (Sesbania rostrata) แนะนำให้ปลูกก่อนการปักดำข้าวประมาณ 70 วัน โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 6 กิโลกรัมต่อไร่ หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วยเร่งการเจริญเติบโต แนะให้ใช้หินฟอสเฟตบดละเอียดใส่ตอนเตรียมดินปลูก แล้วไถกลบขณะเมื่อมีอายุประมาณ 50-55 วัน หรือก่อนปักดำข้าวประมาณ 15 วัน
- การใช้อินทรีย์วัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี หากปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดความอุดมสมบูรณ์ของดินข้างต้นแล้ว ยังพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอหรือขาดธาตุอาหารที่สำคัญบางชนิดไปสามารถนำอินทรีย์วัตถุจากธรรมชาติต่อไปนี้มาใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีบางชนิดได้อย่างเหมาะสมคือ - แหล่งธาตุไนโตรเจน ได้จากแหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ด สะเดา เลือดสัตว์แห้ง และกระดูกป่น เป็นต้น
- แหล่งธาตุฟอสฟอรัส ได้จากหินฟอสเฟตกระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว การเมล็ดพืช ขี้เถ้าไม้ และสาหร่ายทะเล เป็นต้น - แหล่งธาตุโพแตสเซี่ยม ได้จากขี้เถ้า และหินปูนบางชนิด เป็นต้น
- แหล่งธาตุแคลเซี่ยม ได้จากปูนขาว โดโลไมท์เปลือกหอยป่นและกระดูกป่น เป็นต้น
6. ระบบการปลูกพืช เนื่องจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ปลูกได้เพียงปีละครั้ง จึงสามารถปลูกพืชเสริมโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วก่อนและหลังการปลูกข้าวโดยเลือกช่วงเวลาปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ร่วมกับพืชตระกูลถั่วก็ได้ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม
7. การควบคุมวัชพืช หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด แนะนำให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธี การร่วมกับการเขตกรรม เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีเขตกรรม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น
8. การป้องกันจำกัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว หลักการสำคัญของการป้องกันและกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ มีดังนี้
- ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการป้องกันกำจัดโรคแมลง และศัตรูข้าวทุกชนิด
- การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลง การกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม การใช้อัตราและระยะปลูกที่เหมาะสม การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสมดุลของธาตุอาหารพืช การจัดการพืชดิน และน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าวระยะต่าง ๆ เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ และแข็งแรงดี สามารถลดการทำลายของโรคและแมลงศัตรูข้าวได้
- การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เช่น การกำจัดวัชพืช การกำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาว และกำมะถันผงที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี
- การรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ และส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของตัวห้ำตัวเบียน และศัตรูธรรมชาติ เพื่อช่วยควบคุมปริมาณแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว
- การปลูกพืชขับไล่แมลงบนค้นนา เช่น ตะไคร้หอม
- หากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ตะไคร้หอม และใบแคฝรั่ง เป็นต้น โดยผสมน้ำฉีดพ่น
- ใช้วิธีกล เช่น ใช้แสงไฟล่อและใช้กับดัก
- ในกรณีที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดควรกระทำโดยทางอ้อม เช่นนำไปผสมกับเหยื่อล่อในกับดักแมลงหรือใช้เหยื่อพิษกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว ซึ่งจะต้องใช้อย่างระมัดระวังและกำจัดสารเคมีที่เหลือ รวมถึงศัตรูข้าวที่ถูกทำลายโดยเหยื่อพิษอย่างถูกวิธีหลังจากปฏิบัติเสร็จแล้ว
9. การจัดการน้ำ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการจัดการน้ำเพื่อปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป
10. การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทั่วไป 11. การเก็บรักษาผลผลิต ลดความชื้นเมล็ดข้าวให้เหลือประมาณ 14% และเก็บรักษาด้วยวิธีจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น เก็บในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ใช้ภาชนะที่มิดชิด หรืออาจใช้เทคนิคการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการเก็บรักษา
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง