การกำจัดเชื้อราโคนต้นส้ม

เชื้อราโคนต้นส้ม เช่นโรครากเน่าและโคนเน่าสาเหตุเกิดจากเชื้อรา

การป้องกันกำจัด
1.สวนส้มที่ปลูกใหม่และปลูกแบบเป็นแนวร่อง ควรให้แนวร่องอยู่ในทิศเหนือใต้ เพื่อให้ต้นส้มได้รับแสางอย่างพอเพียง ไม่ควรปลูกต้นส้มให้ลึก โคนต้นบริเวณกลางแนวปลูกต้องสูงกว่าขอบแนวปลูกประมาณ 50 - 60 ซม.

2. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงสภาพดินปลูก จะช่วยทำให้ดินโปร่ง และมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น ต้องระวังอย่าใช้ปุ๋ยใหม่ ไม่ใส่มากเกินไปและอย่าใส่โคนต้น

3. บำรุงต้นส้มให้แข็งแรง อย่าปล่อยให้ติดลููกมากเกินไป ระวังเรื่องการพรวนดิน และการกำจัดวัชพืช อย่าทำให้รากหรือโคนต้นเป็นแผล เพราะจะเป็นช่องทางให้เกิดโรค

4. ตัดแต่งทรงพุ่มต้นส้มโดยเฉพาะกิ่งที่อยู่ใกล้ระดับดิน เพื่อให้โคนต้นไม่รกทึบ อากาศถ่ายเทและแสงแดดส่องถึงโคนต้น ในฤดูฝนควรกำัดวัชพืชหรือตัดให้สั้น หากโคนต้นหรือกลางแนวปลูกมีระดับต่ำให้ทำร่องระบายนำ้เล็กๆ ระหว่างโคนต้นและบริเวณกลางแแนวปลูกทั้งสองดด้าน

5. หมั่นตรวจดูสภาพของต้นส้ม โดยเฉพาะต้นส้มที่โตเร็วว่าแสดงอาการของโรคดังกล่าวแล้วหรือไม่ หากพบควรรีบแก้ไขโดยด่วน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดซึ่งสามารถกระทำได้โดย
- ปรับปรุงสภาพของต้นส้มและแปลงปลูก และฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โฟซีธิล-อัล (อาลีเอท) อัตรา 40-60กรัม หรือฟอสฟอริก แอซิด (โพลิอาร์ฟอส) อัตาร 40-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- ต้นส้มที่แสดงอาการแผลเน่าช้ำที่เปลือกของต้นส้ม หรือเปลือกแตกหรือยางไหลให้ใช้มีดที่สะอาดและคม เฉือนถากส่วนเปลือกที่เป็นโรคออกให้หมด ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนต้นส้มมากนัก ใช้จุนสีผสมปูนขาวในอัตารส่วน 1:1 ผสมน้ำและสีทาไม้ ผสมพอให้เป็นแป้งเปียก ทาซ้ำทุก 5หรือ 7 วัน อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือจนกว่าแผลจะแห้ง
- เก็บรวบรวมส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อลดแหล่งของเชื้อโรค

6. ต้นส้มที่เป็นโรคมาก หรือทรุดโทรมมากให้ขุดเผาลาย แล้วปล่อยดินตากแดดประมาณ 2-3 เดือน จึงปลูกแซม ทาโคนต้นส้มที่ปลูกแซมด้วยสารเคมีป้องกันกำจักเชื้อราโดยรอบสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 20-30 ซม.


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay