การผลิตไข่ไก่งวงโดยใช้แสงกระตุ้น
เมื่อไก่งวงโตถึงอายุดังกล่าวควรให้แสง ให้แสง 13 - 15 ชั่วโมงต่อวัน (ปกติให้แสง 14 ชั่วโมง) วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการผสมมากขึ้น และมีไข่มากขึ้นด้วย
ในทางปฏิบัติจริง ๆ ใช้แสง 2 - 5 ฟุตเทียน ก็พอเพียงที่จะกระตุ้นไก่งวงได้ดี ซึ่งถ้าใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 75 วัตต์ (Watts) แขวนให้สูงจากหลังไก่งวง 10 ฟุต ก็จะได้ความเข้มของแสงประมาณ 2 - 5 ฟุตเทียน ที่หลังไก่งวงพอดี ซึ่งวิธีนี้ใช้เป็นหลักทั่วไปได้
ถ้าการใช้แสงดังกล่าวมิได้ทำต่อเนื่องตลอด 14 ชั่วโมง การให้แสงสีแดงขนาด 0.5 ฟุต-เทียน หรือแสงสีขาวขนาด 0.6 ฟุต-เทียน ในช่วงก่อนที่จะมีแสงอาทิตย์เป็นเวลา 4 - 6 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นให้ไก่งวงผสมพันธุ์และไข่มากขึ้นเช่นเดียวกับการให้แสงตลอดเวลาทั้งสองวิธีนี้ได้ผลเช่นเดียวกันแต่วิธีหลังนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ข้อผิดพลาดบางประการในการควบคุมการให้แสงในไก่งวง
1. ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการให้แสงคือ เมื่อไก่งวงมีอายุได้ 18 สัปดาห์ ควรจะลดแสงสว่างให้น้อยลงเหลือวันละ 7 ชั่วโมง ก็พอเรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญซึ่งผู้เลี้ยงมักจะไม่ค่อยคิดถึงหรือทำผิดพลาดอยู่เสมอ โดยปล่อยไก่งวงไว้นานเกินกว่านี้ จึงทำการลดความยาวของแสงซึ่งมักจะสายเกินไปแล้ว และถ้ายิ่งปล่อยไว้นาน ๆ จนจวนจะถึงระยะที่ไก่งวงมีการตอบสนองต่อความยาวของแสงของแสงสว่างแล้ว ไก่งวงนั้นมักจะไข่ไม่ค่อยดีแล้ว และจะไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะต่อมา
2. ข้อผิดพลาดข้อนี้ก็คือ คอกหรือเรือนโรงที่ใช้เลี้ยงไก่งวงไม่สามารถควบคุมแสงได้ 100 % เพราะแสงผ่านเข้ามาตามรอยแตกของฝาคอกหรือตามช่องระบายอากาศหรือช่องลมได้และเป็นเหตุให้ไก่งวงมาสุมกันในบริเวณดังกล่าว และที่สำคัญก็คือจะต้องไม่มีไก่งวงวางไข่ในระยะนี้
ในทางปฏิบัติจริง ๆ ใช้แสง 2 - 5 ฟุตเทียน ก็พอเพียงที่จะกระตุ้นไก่งวงได้ดี ซึ่งถ้าใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 75 วัตต์ (Watts) แขวนให้สูงจากหลังไก่งวง 10 ฟุต ก็จะได้ความเข้มของแสงประมาณ 2 - 5 ฟุตเทียน ที่หลังไก่งวงพอดี ซึ่งวิธีนี้ใช้เป็นหลักทั่วไปได้
ถ้าการใช้แสงดังกล่าวมิได้ทำต่อเนื่องตลอด 14 ชั่วโมง การให้แสงสีแดงขนาด 0.5 ฟุต-เทียน หรือแสงสีขาวขนาด 0.6 ฟุต-เทียน ในช่วงก่อนที่จะมีแสงอาทิตย์เป็นเวลา 4 - 6 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นให้ไก่งวงผสมพันธุ์และไข่มากขึ้นเช่นเดียวกับการให้แสงตลอดเวลาทั้งสองวิธีนี้ได้ผลเช่นเดียวกันแต่วิธีหลังนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ข้อผิดพลาดบางประการในการควบคุมการให้แสงในไก่งวง
1. ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการให้แสงคือ เมื่อไก่งวงมีอายุได้ 18 สัปดาห์ ควรจะลดแสงสว่างให้น้อยลงเหลือวันละ 7 ชั่วโมง ก็พอเรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญซึ่งผู้เลี้ยงมักจะไม่ค่อยคิดถึงหรือทำผิดพลาดอยู่เสมอ โดยปล่อยไก่งวงไว้นานเกินกว่านี้ จึงทำการลดความยาวของแสงซึ่งมักจะสายเกินไปแล้ว และถ้ายิ่งปล่อยไว้นาน ๆ จนจวนจะถึงระยะที่ไก่งวงมีการตอบสนองต่อความยาวของแสงของแสงสว่างแล้ว ไก่งวงนั้นมักจะไข่ไม่ค่อยดีแล้ว และจะไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะต่อมา
2. ข้อผิดพลาดข้อนี้ก็คือ คอกหรือเรือนโรงที่ใช้เลี้ยงไก่งวงไม่สามารถควบคุมแสงได้ 100 % เพราะแสงผ่านเข้ามาตามรอยแตกของฝาคอกหรือตามช่องระบายอากาศหรือช่องลมได้และเป็นเหตุให้ไก่งวงมาสุมกันในบริเวณดังกล่าว และที่สำคัญก็คือจะต้องไม่มีไก่งวงวางไข่ในระยะนี้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง