การจัดการการฟักไข่นกกระทา

1. วิธีเอาสีออกจากเปลือกไข่
สีที่ปรากฏบนเปลือกไข่นกกระทามีหลายสีตั้งแต่น้ำตาลถึงน้ำเงิน หรือตั้งแต่ขาวล้วนไปจนถึงจุดลายดำและน้ำเงิน สีเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากการผสมแคลเซียมบนพื้นผิวเยื่อพอพิริน ทำให้ยากต่อการส่อง แยกไข่ที่แตกร้าว ไม่มีเชื้อ ไข่เชื้อตาย วิธีการเอาจุดลายต่าง ๆ ออกจากเปลือกไข่กระทำได้ดังนี้

1.1 ชุบลงในน้ำ ดีเทอเยน หรือน้ำยาคลอเตอร์นารี แอมโมเนียมคอมปาว์ อุณหภูมิ 30 - 38 องศาเซลเซียส (85 - 95 องศาฟาเรนไฮด์ )

1.2 ขัดด้วยผ้ากรง กระดาษทรายหยาบ หรือฝอยขัดหม้อ จนลายออกหมด เพื่อป้องกันการบุบแตกมาก ควรขัดเฉพาะพื้นผิวไข่ที่พอจะส่องไข่ให้สะดวกเท่านั้น

1.3 ทำให้ผิวไข่แห้งก่อนนำเข้าตู้ฟัก

2. การรมยาก่อนฟัก
ใช้ยารมอัตรา 1 ลูกบาศก์ฟุต/ด่างทับทิม 0.6 กรัม กับฟอร์มาลีน 12 ซีซี. นาน 20 นาที อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 21.1 องศาเซลเซียส (70 องศาฟาเรนไฮด์) การรมยานี้ควรรมขณะที่ไข่ยังอุ่นอยู่ ถ้ารอให้ไข่เย็นจุลินทรีย์อาจมีการดูดซึมเข้าไปในไข่ได้ ห้องหรือหีบที่ใช้รมควรปิดสนิทได้ อาจมีพัดลมอยู่ภายใน เพื่อกระจายยารมให้ทั่วตู้ และเป่ากลิ่นยารมทิ้ง เมื่อรมครบกำหนด

3. การเก็บรักษาไข่ฟัก
ควรเก็บในที่สะอาด ไม่มีฝุ่นละออง ที่เย็น 12.3 องศาเซลเซียส (55.5 องศาฟาเรนไฮด์) ความชื้นสัมพันธ์ 70 % ที่เก็บไข่ควรสะดวกในการนำไข่เข้าออกตู้ฟักทุกวัน 3 - 7 วัน ไข่ที่เก็บควรหันทางด้านป้านขึ้น ไข่ฟักที่เก็บไว้นานกว่า 7 วันจะทำให้การฟักออกเป็นตัวลดลง
มีวิธีช่วยรักษาผลของการฟักไข่นี้ให้คงที่ด้วยถุงพีวีซีหรือเก็บในถุงพลาสติกธรรมดาจะช่วยเก็บไข่ได้นานขึ้นถึง 13 - 21 วัน โดยจะมีผลการฟักออกสูงกว่าพวกที่ไม่ได้ใส่ถุงด้วย

4. ตู้ฟักไข่สำหรับนกกระทา
 ตู้ฟักไข่มีหลายแบบ คือมีทั้งแบบที่มีระบบอัตโนมัติควบคุมต่าง ๆ หรือแบบธรรมดาก็ตาม ตู้ฟักไข่นกควรมีถาดไข่พิเศษ ถาดไข่ธรรมดาอาจใส่ตะแกรงลวด 1.75 - 2.5 ซม.

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Kasetbay.com
| Facebook_white
เบอร์โทรศัพท์: --- เบอร์แฟกซ์: ---
ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay