แนะเทคนิคเพิ่มคุณภาพถั่วเหลือง จาก‘เครื่องนวดข้าว’
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองประมาณ
1.1 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่แถบภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งเกษตรกรมีการปลูกทั้งในสภาพไร่และหลังการทำนา
โดยได้ผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองปีละกว่า 260,000 ตัน
ป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม แต่ปัญหาหลักของการผลิตถั่วเหลืองในขณะนี้ คือ
เกษตรกรขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีซึ่งต้องใช้ถึงปีละประมาณ 25,100 ตัน
ประกอบกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมีความอ่อนไหวมากต่อสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่การปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวและนวด ตลอดจนการปรับปรุงสภาพ
โดยเปอร์เซ็นต์ความ งอกของเมล็ดจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อกระทบกับปัจจัยที่ไม่เหมาะสม
โดยเฉพาะขั้นตอนการนวดซึ่งต้องใช้เครื่องนวดที่มีความเร็วรอบที่เหมาะสม
ดร.อนุสร เวชสิทธิ์ วิศวกรการเกษตร 6 กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร หัวหน้าโครงการพัฒนาและทดสอบเครื่องนวดข้าวเพื่อให้เหมาะสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองกว่า 95% นิยมใช้เครื่องนวดข้าวที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศกว่า 50,000 เครื่อง มาปรับใช้ในการนวดถั่วเหลืองเพื่อการบริโภคและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ เพราะหากซื้อเครื่องนวดถั่วเหลืองมานวดเอง จะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน และเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ได้มักมีความงอกต่ำ ทำให้ต้องใช้จำนวนเมล็ดมากในการปลูก ส่งผลให้มีต้นทุนสูง และอาจขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ในที่สุด
ดังนั้น การพัฒนาชุดนวดของเครื่องนวดข้าวให้สามารถนวดเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองให้มีคุณภาพดี จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองมีขีดความสามารถในการผลิตถั่วเหลืองสูงขึ้น ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีมูลค่าเมล็ดเพิ่มจาก 10 บาท/กก. เป็น 15 บาท/กก. นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ และขยายพื้นที่ปลูกได้โดยใช้เมล็ดจำนวนเท่าเดิม ขณะเดียวกันเจ้าของเครื่องนวดข้าวยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการรับจ้างนวดเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองด้วย
เทคนิคการปรับแต่งเครื่องนวดข้าวเพื่อนวดเมล็ดถั่วเหลือง นั้น ทำได้โดยปรับลดจำนวนซี่นวดด้านช่องป้อนออก 50% หรือถอดซี่เว้นซี่ เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดถั่วเหลืองถูกนวดมากเกินไป สำหรับลูกนวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 60-62 ซม. (ปลายซี่นวด) ต้องปรับลดความเร็วรอบตะแกรงคัดแยกจาก 450-500 รอบ/นาที ลงเหลือ 380-400 รอบ/นาที เพื่อลดความแรงของการตีนวด ไม่ให้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองถูกกะเทาะจนแตกเสียหาย จากนั้นต้องเพิ่มความเร็วพัดลมเป่าตะแกรงคัดแยก จาก 1,600 รอบ/นาที เป็น 1,800-1,850 รอบ/นาที ทั้งนี้ เนื่องจากเศษใบ ต้น และเปลือกถั่วเหลืองมีขนาดใหญ่กว่าเศษใบและต้นข้าวจึงจำเป็นต้องให้พัดลมเป่าแรงกว่า
ประสิทธิภาพหลังการปรับแต่งตามเทคนิคดังกล่าว จะสามารถนวดถั่วเหลืองได้ชั่วโมงละประมาณ 1 ตันเมล็ด ทั้งนี้ เมล็ดถั่วเหลืองต้องมีความชื้นที่เหมาะสม โดยเฉลี่ยที่ 14-15% และที่สำคัญการป้อนถั่วเหลืองเข้าเครื่องนวดต้องมีความสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เมล็ดถั่วเหลืองที่ได้มีเปอร์เซ็นต์แตกร้าวไม่เกิน 3% มีความสะอาดสูงถึง 98% เมล็ดพันธุ์มีความแข็งแรงสูงและมีเปอร์เซ็นต์ความงอกไม่ต่ำกว่า 75% ที่อายุการเก็บรักษาไม่เกิน 3 เดือน ส่วนเมล็ดถั่วเหลืองเพื่อบริโภคจะขายได้ราคาดี เพราะมีคุณภาพสูงและแตกร้าวน้อย
หากเกษตรกรสนใจที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-2153 หรือ 0-2579-0225 ต่อ 106 ทุกวันในเวลาราชการ.
ดร.อนุสร เวชสิทธิ์ วิศวกรการเกษตร 6 กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร หัวหน้าโครงการพัฒนาและทดสอบเครื่องนวดข้าวเพื่อให้เหมาะสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองกว่า 95% นิยมใช้เครื่องนวดข้าวที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศกว่า 50,000 เครื่อง มาปรับใช้ในการนวดถั่วเหลืองเพื่อการบริโภคและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ เพราะหากซื้อเครื่องนวดถั่วเหลืองมานวดเอง จะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน และเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ได้มักมีความงอกต่ำ ทำให้ต้องใช้จำนวนเมล็ดมากในการปลูก ส่งผลให้มีต้นทุนสูง และอาจขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ในที่สุด
ดังนั้น การพัฒนาชุดนวดของเครื่องนวดข้าวให้สามารถนวดเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองให้มีคุณภาพดี จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองมีขีดความสามารถในการผลิตถั่วเหลืองสูงขึ้น ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีมูลค่าเมล็ดเพิ่มจาก 10 บาท/กก. เป็น 15 บาท/กก. นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ และขยายพื้นที่ปลูกได้โดยใช้เมล็ดจำนวนเท่าเดิม ขณะเดียวกันเจ้าของเครื่องนวดข้าวยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการรับจ้างนวดเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองด้วย
เทคนิคการปรับแต่งเครื่องนวดข้าวเพื่อนวดเมล็ดถั่วเหลือง นั้น ทำได้โดยปรับลดจำนวนซี่นวดด้านช่องป้อนออก 50% หรือถอดซี่เว้นซี่ เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดถั่วเหลืองถูกนวดมากเกินไป สำหรับลูกนวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 60-62 ซม. (ปลายซี่นวด) ต้องปรับลดความเร็วรอบตะแกรงคัดแยกจาก 450-500 รอบ/นาที ลงเหลือ 380-400 รอบ/นาที เพื่อลดความแรงของการตีนวด ไม่ให้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองถูกกะเทาะจนแตกเสียหาย จากนั้นต้องเพิ่มความเร็วพัดลมเป่าตะแกรงคัดแยก จาก 1,600 รอบ/นาที เป็น 1,800-1,850 รอบ/นาที ทั้งนี้ เนื่องจากเศษใบ ต้น และเปลือกถั่วเหลืองมีขนาดใหญ่กว่าเศษใบและต้นข้าวจึงจำเป็นต้องให้พัดลมเป่าแรงกว่า
ประสิทธิภาพหลังการปรับแต่งตามเทคนิคดังกล่าว จะสามารถนวดถั่วเหลืองได้ชั่วโมงละประมาณ 1 ตันเมล็ด ทั้งนี้ เมล็ดถั่วเหลืองต้องมีความชื้นที่เหมาะสม โดยเฉลี่ยที่ 14-15% และที่สำคัญการป้อนถั่วเหลืองเข้าเครื่องนวดต้องมีความสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เมล็ดถั่วเหลืองที่ได้มีเปอร์เซ็นต์แตกร้าวไม่เกิน 3% มีความสะอาดสูงถึง 98% เมล็ดพันธุ์มีความแข็งแรงสูงและมีเปอร์เซ็นต์ความงอกไม่ต่ำกว่า 75% ที่อายุการเก็บรักษาไม่เกิน 3 เดือน ส่วนเมล็ดถั่วเหลืองเพื่อบริโภคจะขายได้ราคาดี เพราะมีคุณภาพสูงและแตกร้าวน้อย
ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้ถ่ายทอดความรู้ พร้อมเทคโนโลยีการนวดเมล็ดถั่ว
เหลืองจากเครื่องนวดข้าวไปสู่กลุ่มเกษตรกรในหลายพื้นที่ เช่น อ.เมือง
อ.สีชมพู อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
เริ่มมีการนำไปใช้แล้วซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจมาก
นอกจากจะใช้นวดถั่วเหลืองแล้ว ยังสามารถปรับใช้ในการนวดเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง
และเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวได้ด้วย ซึ่งจากงานวิจัยนี้
กรมวิชาการเกษตรจะขยายผลไปสู่การวิจัยและพัฒนาเป็นเครื่องเกี่ยวนวดเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในอนาคต
หากเกษตรกรสนใจที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-2153 หรือ 0-2579-0225 ต่อ 106 ทุกวันในเวลาราชการ.
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง